การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (ปี 2567) รุ่นที่ 9


หลักสูตรนี้เป็นการเตรียมความพร้อมเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านบริบาลเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยหลักสูตรประกอบด้วยการอบรมภาคทฤษฎี 36 ชั่วโมง และการฝึกภาคปฏิบัติในโรงพยาบาลจำนวน 420 ชั่วโมง รวม 456 ชั่วโมง ในระยะเวลา 16 สัปดาห์

ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลดใบสมัครเพื่อแสดงความจำนงเข้าร่วมรับการอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม ได้ที่  https://cmu.to/cTnNq

ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลด หนังสือเชิญอบรมเพื่อเป็นเอกสารแนบสำหรับต้นสังกัด ได้ที่ https://cmu.to/0jzLQ

รายชื่อผู้สมัครหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด รุ่นที่ 9  https://cmu.to/Qb3zj

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 20 ก.ย. 66 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 31 มี.ค. 67 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 27 ก.ย. 67 เวลา 16:30 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 เม.ย. 67 เวลา 09:00 น. ถึง 12 ก.ค. 67 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 1

28 ต.ค. 67 เวลา 09:00 น. ถึง 7 ก.พ. 68 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 2
จำนวนรับสมัคร
10 คน
(รับสมัคร 5 คน/รอบการอบรม : เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 4 คน/รอบ)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร
  1. เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
  2. เป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา 2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
  3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี
  4. เป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่รับผิดชอบผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือมีความสนใจในงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  5. ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรม
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
25,600 บาท
(ยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท สำหรับนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 25,000 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร
  1. เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
  2. เป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา 2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
  3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี
  4. เป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่รับผิดชอบผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือมีความสนใจในงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  5. ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรม
หลักการและเหตุผล

เภสัชกรเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาให้บรรเทาหรือหายจากโรค และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี  หลักสูตรนี้จะเตรียมความพร้อมเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านบริบาลเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ให้มีคุณธรรม จริยธรรมและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องและสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง สามารถริเริ่มและพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย และตอบสนองต่อนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งในลักษณะการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโดยตรง และการพัฒนาศักยภาพของทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะเภสัชศาสตร์ ได้มีการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้จากการสัมผัสจริงในการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย และการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างอาจารย์และเภสัชกรวิชาชีพ โดยหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรร่วมกับคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข 

เนื้อหาของหลักสูตร

การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นหลักสูตรเพื่อการรับรองสมรรถนะและเพื่อการเก็บสะสมหน่วยกิต มีจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้รวม 456 ชั่วโมง โดยใช้ระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด 16 สัปดาห์ ประกอบด้วยการสอนภาคทฤษฎีโดยการบรรยายจำนวน 36 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลจำนวน 420 ชั่วโมง ผู้เรียนสามารถเลือกเก็บสะสมหน่วยกิตได้ 3 หน่วยกิต จากกระบวนวิชาใดวิชาหนึ่ง ใน 2 กระบวนวิชา ดังต่อไปนี้

1) กระบวนวิชา 452744 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติระดับบัณฑิตศึกษา 1 (3 หน่วยกิต)

2) กระบวนวิชา 452745 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติระดับบัณฑิตศึกษา 2 (3 หน่วยกิต)

               โดย 2 กระบวนวิชานี้บรรจุอยู่ในหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ซึ่งจัดอยู่ในกระบวนวิชาเลือกในสาขาวิชา รายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3) ดังเอกสารแนบท้าย

รายละเอียดการฝึกอบรม

1. ภาคทฤษฎี  การบรรยาย 36 ชั่วโมง โดยมีการบรรยายครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้

หัวข้อในการบรรยาย จำนวนชั่วโมง

1. Review of Cardiovascular diseases ทบทวนการ

ดำเนินไปของโรคหลอดเลือดและหัวใจ

2

2. แนวทางการสัมภาษณ์ผู้ป่วย การตรวจร่างกาย

การประเมินอาการสำคัญในผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือด

สำหรับเภสัชกร

2

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญในผู้ป่วยโรคหัวใจ

และหลอดเลือดสำหรับเภสัชกร

2

4. Hypertension

  4.1 ความรู้พื้นฐานเรื่องโรค Hypertension

  4.2 การสัมภาษณ์และการตรวจประเมินอาการในโรค

  4.3 การรักษาและหลักการใช้ยาในการรักษา

        (Antihypertensive drug) และการเฝ้าระวัง

        อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

  4.4 Hypertensive crisis

3

5. Dyslipidemia

  5.1 ความรู้พื้นฐานเรื่อง Dyslipidemia

  5.2 การสัมภาษณ์และการตรวจประเมินอาการในโรค

  5.3 หลักการใช้ยาในการรักษา (Dyslipidemia drug)

        และการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

2

6. Coronary heart disease

  6.1 ความรู้พื้นฐานเรื่อง Coronary heart disease

      6.1.1  Chronic coronary heart diseases and

                chronic stable Angina

      6.1.2  Acute coronary syndrome

  6.2 การสัมภาษณ์และการตรวจประเมินอาการในโรค

  6.3 หลักการใช้ยาในการรักษา Chronic coronary heart diseases

        and chronic stable   angina และ acute coronary syndrome

        และการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

4

7.  Atrial fibrillation

  7.1 ความรู้พื้นฐานเรื่องโรค Atrial fibrillation

  7.2 การสัมภาษณ์และการตรวจประเมินอาการ

  7.3 หลักการใช้ยาในการรักษา (Antiarrhythmic drug,

        anticoagulant therapy) และการ เฝ้าระวังอาการไม่

        พึงประสงค์จากการใช้ยา

  7.4  Acute life-threatening arrhythmia

  7.5 การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ

        และผลที่มีต่อยาในการรักษา

4

8. Heart failure

  8.1 ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคหัวใจล้มเหลว

      8.1.1 Valvular heart diseases

      8.1.2 Heart failure with reduce ejection fraction

      8.1.3 Heart failure with preserve ejection fraction

  8.2 การสัมภาษณ์และการตรวจประเมินอาการ

  8.3 หลักการใช้ยาในการรักษา (Heart failure medication)

        และการเฝ้าระวังอาการไม่พึง ประสงค์จากการใช้ยา

  8.4 การให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว

  8.5 Acute decompensated heart failure

4

9. Pulmonary arterial hypertension

  9.1 ความรู้พื้นฐานเรื่องโรค Pulmonary arterial hypertension

  9.2 หลักการใช้ยาในการรักษา Pulmonary arterial

       hypertension และการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

2
10. Cardiopulmonary resuscitation for Pharmacists 3
11. เภสัชระบาดวิทยาและสถิติในโรคหัวใจและหลอดเลือด 2
12. เภสัชจลนศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 2
13. ภาวะติดเชื้อและการให้ยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 2
14. การใช้ยาจิตเวชในโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด 2
รวมจำนวนชั่วโมง 36

 

2. ภาคปฏิบัติ  ฝึกปฏิบัติงานบริบาลเภสัชกรรมในโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด 420 ชั่วโมง ณ แหล่งฝึกต่อไปนี้

  - คลินิกโรคหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

  - คลินิกผู้ป่วยได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

  - แผนกผู้ป่วยใน โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

วัน เวลา สถานที่ หัวข้อที่ฝึกปฏิบัติ วิทยากร
จันทร์ 09.00 - 12.00 น.

- Cardiac Critical

   Care Unit (CCU)

- Warfarin Clinic

   ศัลยกรรมทรวงอก

-   ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจร่วมกับ

บุคลากรทางการแพทย์ ณ แผนกผู้ป่วยวิกฤต

(CCU) อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 8

-   ฝึกให้คำแนะนำปรึกษาด้านยา (counseling)

ในผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้ยาต้าน

การแข็งตัวของเลือด ในแผนกศัลยกรรมทรวงอก

ให้ข้อเสนอแนะด้านการปรับยา ฝึกทักษะการส่งต่อข้อมูล

แก่ทีมสหวิชาชีพ และการอภิปรายร่วมกับอาจารย์เกี่ยวกับ

การติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย

- ผศ.ดร.ภญ.ภูขวัญ อรุณมานะกุล

- ผศ.ดร.ภญ.วรธิมา อยู่ดี

- ภญ. วิฬารัตน์ ไสยรัตน์

- ภญ. พรวิณี สมทรัพย์

- นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

  13.00 -16.00 น.

- Cardiac Critical

   Care Unit (CCU)

- Warfarin Clinic

   ศัลยกรรมทรวงอก

-   ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจร่วมกับบุคลากร

ทางการแพทย์ ณ แผนกผู้ป่วยวิกฤต (CCU)

อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 8

-   ฝึกให้คำแนะนำปรึกษาด้านยา (counseling)

ในผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้ยาต้าน

การแข็งตัวของเลือด ในแผนกศัลยกรรมทรวงอก

ให้ข้อเสนอแนะด้านการปรับยา ฝึกทักษะการส่งต่อ

ข้อมูลแก่ทีมสหวิชาชีพ และการอภิปราย

ร่วมกับอาจารย์เกี่ยวกับการติดตามการ

ใช้ยาของผู้ป่วย

- ผศ.ดร.ภญ.ภูขวัญ อรุณมานะกุล

- ผศ.ดร.ภญ.วรธิมา อยู่ดี

- ภญ. วิฬารัตน์ ไสยรัตน์

- ภญ. พรวิณี สมทรัพย์

- นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

         
อังคาร 09.00 - 12.00 น.

-   Cardiac Critical

   Care Unit (CCU)

-   Heart failure Clinic

-   ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจร่วมกับ

บุคลากรทางการแพทย์ ณ แผนกผู้ป่วยวิกฤต (CCU)

อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 8

-   ฝึกให้คำแนะนำปรึกษาด้านยา (counseling)

ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ให้ข้อเสนอแนะ

ฝึกทักษะการส่งต่อข้อมูลแก่ทีมสหวิชาชีพ

และการอภิปรายร่วมกับอาจารย์เกี่ยวกับการติดตาม

การใช้ยาของผู้ป่วย

- ผศ.ดร.ภญ.ภูขวัญ อรุณมานะกุล

- ผศ.ภญ.วรธิมา อยู่ดี

- ภญ. วิฬารัตน์ ไสยรัตน์

- ภญ. พรวิณี สมทรัพย์

- นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

 

  13.00 -16.00 น.

-   Cardiac Critical

    Care Unit (CCU)

-   คณะเภสัชศาสตร์

    มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

-   ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจร่วมกับ

บุคลากรทางการแพทย์ ณ แผนกผู้ป่วยวิกฤต (CCU)

อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 8

-   กรณีศึกษาการประเมินอาการทางโรคระบบหัวใจ

และหลอดเลือดและโรคหัวใจล้มเหลว อาการไม่

พึงประสงค์จากยา การใช้เทคนิคและทักษะการให้

คำแนะนำปรึกษาด้านยา

- ผศ.ดร.ภญ.ภูขวัญ อรุณมานะกุล

- ผศ.ภญ.วรธิมา อยู่ดี

- ภญ. วิฬารัตน์ ไสยรัตน์

- ภญ. พรวิณี สมทรัพย์

- นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

 

         
พุธ 09.00 - 12.00 น.

-   Cardiac Critical

    Care Unit (CCU)

-   Warfarin Clinic

      อายุรกรรม

-   ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจร่วมกับ

บุคลากรทางการแพทย์ ณ แผนกผู้ป่วยวิกฤต (CCU)

อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 8

-   ฝึกให้คำแนะนำปรึกษาด้านยา (counseling)

ในผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้ยาต้าน

การแข็งตัวของเลือด ในแผนกอายุรกรรม

หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้ข้อเสนอแนะ

ด้านการปรับยา ฝึกทักษะการส่งต่อข้อมูลแก่

ทีมสหวิชาชีพ และการอภิปรายร่วมกับอาจารย์

เกี่ยวกับการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย

- ผศ.ดร.ภญ.ภูขวัญ อรุณมานะกุล

- ผศ.ภญ.วรธิมา อยู่ดี

- ภญ. วิฬารัตน์ ไสยรัตน์

- ภญ. พรวิณี สมทรัพย์

- นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

 

  13.00 -16.00 น.

-   Cardiac Critical

     Care Unit (CCU)

-   Warfarin Clinic

    คลินิกหัวใจและ

     หลอดเลือด

     ภาควิชาอายุรศาสตร์

-   ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจ

ร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ ณ แผนกผู้ป่วยวิกฤต

(CCU) อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 8

-   ฝึกให้คำแนะนำปรึกษาด้านยา (counseling)

ในผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้ยาต้าน

การแข็งตัวของเลือด ในแผนกอายุรกรรม

หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้ข้อเสนอแนะ

ด้านการปรับยา ฝึกทักษะการส่งต่อข้อมูลแก่

ทีมสหวิชาชีพ และการอภิปรายร่วมกับ

อาจารย์เกี่ยวกับการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย

- ผศ.ดร.ภญ.ภูขวัญ อรุณมานะกุล

- ผศ.ภญ.วรธิมา อยู่ดี

- ภญ. วิฬารัตน์ ไสยรัตน์

- ภญ. พรวิณี สมทรัพย์

- นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

 

         
พฤหัส 09.00 - 12.00 น.

-   Cardiac Critical

    Care Unit (CCU)

-   Heart failure Clinic

-   ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจร่วมกับ

บุคลากรทางการแพทย์ ณ แผนกผู้ป่วยวิกฤต

(CCU) อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 8

-   ฝึกให้คำแนะนำปรึกษาด้านยา (counseling)

ในผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้ยาต้าน

การแข็งตัวของเลือด ในแผนกศัลยกรรมทรวงอก    

ให้ข้อเสนอแนะด้านการปรับยา ฝึกทักษะการส่งต่อ

ข้อมูลแก่ทีมสหวิชาชีพ และการอภิปรายร่วมกับ

อาจารย์เกี่ยวกับการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย

- ผศ.ดร.ภญ.ภูขวัญ อรุณมานะกุล

- ผศ.ภญ.วรธิมา อยู่ดี

- ภญ. วิฬารัตน์ ไสยรัตน์

- ภญ. พรวิณี สมทรัพย์

- นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

 

  13.00 -16.00 น.

-   Cardiac Critical

    Care Unit (CCU)

-   Heart failure Clinic

-   ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจร่วมกับ

บุคลากรทางการแพทย์ ณ แผนกผู้ป่วยวิกฤต

(CCU) อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 8

-   ฝึกให้คำแนะนำปรึกษาด้านยา (counseling)

ในผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ในแผนกศัลยกรรมทรวงอก

ให้ข้อเสนอแนะด้านการปรับยา ฝึกทักษะการส่งต่อ

ข้อมูลแก่ทีมสหวิชาชีพ และการอภิปรายร่วมกับ

อาจารย์เกี่ยวกับการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย

- ผศ.ดร.ภญ.ภูขวัญ อรุณมานะกุล

- ผศ.ภญ.วรธิมา อยู่ดี

- ภญ. วิฬารัตน์ ไสยรัตน์

- ภญ. พรวิณี สมทรัพย์

- นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

 

         
ศุกร์ 09.00 - 12.00 น.

-   Cardiac Critical

     Care Unit (CCU)

-   Warfarin Clinic

     ศัลยกรรมทรวงอก

-   ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจร่วมกับ

บุคลากรทางการแพทย์ ณ แผนกผู้ป่วยวิกฤต (CCU)

อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 8

-   ฝึกให้คำแนะนำปรึกษาด้านยา (counseling)

ในผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ในแผนกศัลยกรรมทรวงอก

ให้ข้อเสนอแนะด้านการปรับยา ฝึกทักษะการส่งต่อ

ข้อมูลแก่ทีมสหวิชาชีพ และการอภิปรายร่วมกับ

อาจารย์เกี่ยวกับการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย

- ผศ.ดร.ภญ.ภูขวัญ อรุณมานะกุล

- ผศ.ภญ.วรธิมา อยู่ดี

- ภญ. วิฬารัตน์ ไสยรัตน์

- ภญ. พรวิณี สมทรัพย์

- นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

 

  13.00 -16.00 น.

-   Cardiac Critical

    Care Unit (CCU)

-   Warfarin Clinic

     ศัลยกรรมทรวงอก

-   ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจร่วมกับ

บุคลากรทางการแพทย์ ณ แผนกผู้ป่วยวิกฤต (CCU)

อาคารศรีพัฒน์ ชั้น 8

-   ฝึกให้คำแนะนำปรึกษาด้านยา (counseling)

ในผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้ยาต้าน

การแข็งตัวของเลือด ในแผนกศัลยกรรมทรวงอก   

ให้ข้อเสนอแนะด้านการปรับยา ฝึกทักษะการส่งต่อ

ข้อมูลแก่ทีมสหวิชาชีพ และการอภิปรายร่วมกับ

อาจารย์เกี่ยวกับการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย

- ผศ.ดร.ภญ.ภูขวัญ อรุณมานะกุล

- ผศ.ภญ.วรธิมา อยู่ดี

- ภญ. วิฬารัตน์ ไสยรัตน์

- ภญ. พรวิณี สมทรัพย์

- นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์

 

กิจกรรมการเรียนในการฝึกปฏิบัติ

  1. นำเสนอกรณีศึกษาเดือนละ 2 กรณีศึกษา
  2. นำเสนอการวิพากษ์วรรณกรรมปฐมภูมิ เดือนละ 1 เรื่อง
  3. ให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ด้านยา เดือนละ 1 ครั้ง

หมายเหตุ

  1. หลักสูตรนี้มีระยะเวลาการฝึกอบรม 16 สัปดาห์ โดยเนื้อหาการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเทียบเท่าได้กับหน่วยกิตของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย จำนวน 16 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็น ภาคทฤษฎี 2 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 15 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ 14 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 30 ชั่วโมง)
  2. ผู้เรียนสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ (Continuing Pharmacy Education, CPE) ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม ได้จำนวน 30 หน่วยกิต ในส่วนของภาคทฤษฎีโดยการบรรยาย 36 ชั่วโมง

การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (ปี 2567) รุ่นที่ 9

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.ดร.ภญ. ภูขวัญ อรุณมานะกุล
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะเภสัชศาสตร์
ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นายชลธาร อูปอินทร์ (เจ้าหน้าที่ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์)
chonlathan.a@cmu.ac.th
053-941515
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ต.ค. 2567 - 28 ต.ค. 2567
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 16,800 บาท


เรียนในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 10 ต.ค. 2567 - 14 พ.ย. 2567
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 5,100 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 18 ต.ค. 2567 - 31 ต.ค. 2567
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 5,000 บาท


เรียนในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 21 ต.ค. 2567 - 30 ต.ค. 2567
ภาษาไทย
ราคา 4,000 บาท


เรียนในสถานศึกษา