การบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาผู้ป่วยมะเร็ง (ปี 2567) รุ่นที่ 3


หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม (ผู้ป่วยมะเร็ง) เป็นหลักสูตรภาคปฏิบัติ 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน ในการฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคมะเร็ง และกำหนดให้เภสัชกรฝึกปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยเคมีบำบัด และคลินิกผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง โดยเภสัชกรจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลผู้ป่วย

ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลดใบสมัครเพื่อแสดงความจำนงเข้าร่วมรับการอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม ได้ที่  https://cmu.to/zpUJc

ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลด หนังสือเชิญอบรมเพื่อเป็นเอกสารแนบสำหรับต้นสังกัด ได้ที่  https://cmu.to/gJirJ

รายชื่อผู้สมัครหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม (สาขาผู้ป่วยมะเร็ง) รุ่นที่ 3  https://cmu.to/Bbgm7

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 1 ต.ค. 66 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 1 ก.ย. 67 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 1 ก.ย. 67 เวลา 17:00 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 ก.พ. 67 เวลา 08:00 น. ถึง 31 พ.ค. 67 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 1

1 มิ.ย. 67 เวลา 08:00 น. ถึง 30 ก.ย. 67 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 2

1 ต.ค. 67 เวลา 08:00 น. ถึง 31 ม.ค. 68 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 3
จำนวนรับสมัคร
6 คน
(รับสมัคร 2 คน/รอบการอบรม : เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้สมัครครบตามจำนวนในแต่ละรอบ)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร
  1. เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
  2. เป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา 2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
  3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 เดือน
  4. เป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือมีความสนใจในงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
25,600 บาท
(ยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท สำหรับนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 25,000 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร
  1. เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
  2. เป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา 2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
  3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 เดือน
  4. เป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือมีความสนใจในงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคมะเร็ง
หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้นต่อระบบสาธารณสุขของทั่วโลก ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่าในช่วงปี 2007-2030 จะมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 7.9 ล้านคนเป็น 11.5 ล้านคน และมีผู้ป่วยใหม่โรคมะเร็งทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 11.3 ล้านคนเป็น 15.5 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบว่าในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 64,000 รายต่อปีและมีการเสียชีวิตปีละประมาณ 30,000 ราย ปัจจุบันพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกสูงกว่าโรคหัวใจและอุบัติเหตุติดต่อกันมาหลายปีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

การรักษาโรคมะเร็งการรักษาโรคมะเร็งแบ่งออกได้ 3 ชนิดได้แก่ การผ่าตัด (Surgery) การฉายรังสี (Radiotherapy) และการให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) ซึ่งได้มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โรคมะเร็งหลายชนิดสามารถรักษาให้หายขาดหรือยับยั้งการดำเนินของโรคไม่ให้ลุกลามได้ แต่การตัดสินใจให้การรักษานั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและสภาวะของผู้ป่วยเป็นสำคัญ เป็นเหตุให้มีการปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยมะเร็งจากเดิมที่มุ่งเน้นรักษาเฉพาะตัวโรค (disease-focus approach) เป็นการมุ่งเน้นที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (patient-focus approach) โดยรวมการรักษาแบบสนับสนุน (supportive care) เพื่อลดหรือป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็งด้วย

การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการรักษามะเร็งซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งการใช้เป็นการรักษาหลักหรือร่วมกับการรักษาวิธีอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ยาเคมีบำบัดเป็นยาที่มีอันตรายต่อเซลล์ มีช่วงการรักษาที่แคบ (narrow therapeutic) และมีการให้ยาที่ยุ่งยากซับซ้อน จึงมีโอกาสในการเกิดปัญหาจากการใช้ยา (drug-related problem, DRP) ได้ง่าย โดยเฉพาะการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reaction) ที่สามารถเกิดได้แม้ว่าระดับยาอยู่ในช่วงการรักษา การศึกษาพบว่าอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาสูงถึงร้อยละ 74.3 โดยที่อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นนี้ร้อยละ 88 สามารถทำนายการเกิดได้และร้อยละ 47.8 สามารถป้องกันได้ เภสัชกรจึงมีหน้าที่สำคัญในงานบริการเภสัชกรรม ซึ่งได้แก่ การเตรียมยาเคมีบำบัด หรือยาที่มีพิษต่อเซลล์ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญและอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มงานเภสัชกรรมโดยมีหน้าที่จัดหาเตรียมยาและเก็บรักษายาให้ได้คุณภาพ เพื่อผู้ป่วยเฉพาะราย และนอกจากนี้เภสัชกรยังมีบทบาทในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยมุ่งที่จะให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด ทั้งนี้โดยยึดถือคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นหลักสำคัญ

ด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรดังกล่าวในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และ หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและมีความชำนาญ ในการบริบาลทางเภสัชกรรมนอกเหนือจากหน้าที่ในการเตรียมยาเคมีบำบัดดังที่กล่าวมาในข้างต้น จึงได้ร่วมมือ จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาผู้ป่วยมะเร็ง เป็นหลักสูตรภาคปฏิบัติ 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน ในการฝึกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคมะเร็ง และกำหนดให้เภสัชกรฝึกปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยเคมีบำบัด และคลินิกผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถานที่หลักในการบริบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยเภสัชกรจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลผู้ป่วย

ระยะเวลาของการฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมคลินิกบนหอผู้ป่วยเคมีบำบัด และคลินิกผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง รวมทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ โดยมีอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ เป็นผู้กำกับอย่างใกล้ชิด การฝึกปฏิบัติวิชาชีพจะเน้นเรื่อง กลไกการเกิดโรค และการบริบาลด้วยยาเคมีบำบัด โดยใช้กิจกรรม Pharmacotherapy Consultation และ Drug Information Services เป็นกลไกหลักในการเรียนการสอน เภสัชกรมีโอกาสที่จะทำวิจัย (Research Projects) ให้ความรู้ด้านยา (In-service) แก่บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เช่น แพทย์ และ พยาบาล ตลอดจนการใช้ Evidence-Based Medicine มาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย หลักสูตรนี้เน้นถึงการทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงหลักการทั้งทางภาคทฤษฎี และปฏิบัติเพื่อที่จะสามารถนำไปปฏิบัติตลอดจนริเริ่มการบริบาลทางเภสัชกรรมได้จริงเมื่อจบหลักสูตรการอบรม

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาผู้ป่วยมะเร็ง เป็นหลักสูตรเพื่อการรับรองสมรรถนะและเพื่อการเก็บสะสมหน่วยกิต มีระยะเวลาการเรียนรู้รวมจำนวน 450 ชั่วโมง ประกอบด้วยการสอนภาคทฤษฎีโดยการบรรยายจำนวน 30 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลจำนวน 420 ชั่วโมง
ผู้เรียนสามารถเลือกเก็บสะสมหน่วยกิตได้ 3 หน่วยกิต จากกระบวนวิชาใดวิชาหนึ่ง ใน 2 กระบวนวิชา ดังต่อไปนี้

  1. กระบวนวิชา 452744 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติระดับบัณฑิตศึกษา 1 (3 หน่วยกิต)
  2. กระบวนวิชา 452745 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติระดับบัณฑิตศึกษา 2 (3 หน่วยกิต)

โดย 2 กระบวนวิชานี้บรรจุอยู่ในหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ซึ่งจัดอยู่ในกระบวนวิชาเลือกในสาขาวิชา รายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3) ดังเอกสารหลักสูตร

รายละเอียดการฝึกอบรม
1. ภาคทฤษฎี การบรรยาย 30 ชั่วโมง โดยมีการบรรยายครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้

หัวข้อการบรรยาย ชั่วโมง วิทยากรบรรยาย
1. ระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยในและผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ขั้นตอนการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยในและผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ระบบการติดตามและส่งต่อการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยในและผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อการบันทึกกิจกรรมและภาระงานในการบริบาลทาง
    เภสัชกรรมในผู้ป่วยในและผู้ป่วยโรคมะเร็ง
3  - ภก.ธนพงศ์ ชัยณกุล
 - ภญ.วิฬารัตน์ ไสยรัตน์
 - ภญ.จารุกมล คันธวงศ์
2. ยาต้านอาเจียน ยาป้องกันและรักษาอาการแพ้ระหว่างได้รับยารักษาโรคมะเร็ง
ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว
3  - ผศ.ดร.ภญ.บันฑิตาภรณ์ ศิริจันทร์ชื่น
3. ยาบรรเทาปวด การรักษาเพื่อประคับประคองและบรรเทาอาการของผู้ป่วยใน
ระยะท้ายของชีวิต
3  - อ.ภก.จักรพันธ์ อยู่ดี
4. เภสัชบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 3  - อ.ภก.จักรพันธ์ อยู่ดี
5. เภสัชบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งระบบสืบพันธุ์สตรี 3  - อ.ภก.จักรพันธ์ อยู่ดี
6. เภสัชบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ 3  - อ.ภก.จักรพันธ์ อยู่ดี
7. เภสัชบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งปอด 3  - ผศ.ดร.ภญ.บันฑิตาภรณ์ ศิริจันทร์ชื่น
8. เภสัชบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินอาหาร 3  - ผศ.ดร.ภญ. นราวดี เนียมหุ่น
9. เภสัชบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งอัณฑะ มะเร็งต่อมลูกหมาก 3  - อ.ภก.จักรพันธ์ อยู่ดี
10. การพัฒนาคุณภาพการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็งผ่านกระบวนการ
ทำงานวิจัยจากงานประจำ
3  - อ.ภก.จักรพันธ์ อยู่ดี
 - ผศ.ดร.ภญ.บันฑิตาภรณ์ ศิริจันทร์ชื่น
 - ผศ.ดร.ภญ. นราวดี เนียมหุ่น
 - ภญ.จารุกมล คันธวงศ์
รวมจำนวนชั่วโมง 30  

2. ภาคปฏิบัติ  ฝึกปฏิบัติงาน 420 ชั่วโมง เป็นการให้บริบาลผู้ป่วยจริงควบคู่ไปกับการเรียนภาคทฤษฎี ณ หอผู้ป่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยกิจกรรมประจำวัน รายละเอียดดังนี้

เวลา กิจกรรม
08.00 - 09.00 น. ทบทวนข้อมูลผู้ป่วยประจำวัน
09.00 - 12.00 น. ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยข้างเตียงร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ (ward round) ร่วมกับกิจกรรมการให้บริบาลทางเภสัชกรรมดังนี้
  • จัดทำการประสานรายการยา (medication reconciliation) ในผู้ป่วยที่รับใหม่
  • ให้คำแนะนำปรึกษาการใช้ยาแก่ผู้ป่วยและผู้ป่วยกลับบ้านข้างเตียง (drug counselling)
  • ประเมินและจัดทำเอกสารสำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reaction)
  • บริการข้อมูลทางยาแก่ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ (drug information service)
13.00 - 16.00 น. อภิปรายกรณีศึกษากับอาจารย์ประจำแหล่งฝึกร่วมกับดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนด ได้แก่
  • การเรียนการสอนภาคทฤษฎี
  • นำเสนอกรณีศึกษาจำนวน 4 ครั้ง (เดือนละ 1 ครั้ง)
  • นำเสนอการวิพากษ์วรรณกรรมปฐมภูมิ จำนวน 4 ครั้ง (เดือนละ 1 ครั้ง)
  • ให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 4 ครั้ง (เดือนละ 1 ครั้ง)

ในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้าย ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเขียนโครงร่างงานบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อนำเสนอก่อนการดำเนินโครงการจริง ณ หน่วยงานต้นสังกัด

หมายเหตุ

  1. หลักสูตรนี้มีระยะเวลาการฝึกอบรม 16 สัปดาห์ โดยเนื้อหาการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเทียบเท่าได้กับหน่วยกิตของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย จำนวน 16 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็น ภาคทฤษฎี 2 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 15 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ 14 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 30 ชั่วโมง)
  2. ผู้เรียนสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ (Continuing Pharmacy Education, CPE) ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม ได้จำนวน 30 หน่วยกิต ในส่วนของภาคทฤษฎีโดยการบรรยาย 36 ชั่วโมง

การบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาผู้ป่วยมะเร็ง (ปี 2567) รุ่นที่ 3

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
อ.ภก. จักรพันธ์ อยู่ดี
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะเภสัชศาสตร์
ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นายชลธาร อูปอินทร์ (เจ้าหน้าที่ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์)
chonlathan.a@cmu.ac.th
053-941515
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 15 พ.ย. 2567 - 6 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,600 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 9 ต.ค. 2567 - 2 ธ.ค. 2567
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 4,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 28 ก.ย. 2567 - 15 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 21 ต.ค. 2567 - 8 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ไม่มีค่าใช้จ่าย


เรียนออนไลน์