การบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคไต (ปี 2567) รุ่นที่ 1


หลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคไต เป็นหลักสูตรภาคปฏิบัติ มีระยะเวลาการอบรมรวมทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน โดยผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต

ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลดใบสมัครเพื่อแสดงความจำนงเข้าร่วมรับการอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม ได้ที่ https://cmu.to/6rrJp

ทั้งนี้ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลด หนังสือเชิญอบรมเพื่อเป็นเอกสารแนบสำหรับต้นสังกัด ได้ที่ https://cmu.to/RR0L5

ประกาศรายชื่อที่ได้รับคัดเลือก https://cmu.to/PtnR7

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 23 ก.พ. 67 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 15 ก.ค. 67 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 31 ก.ค. 67 เวลา 16:30 น.
ช่วงเวลาเรียน
29 เม.ย. 67 เวลา 08:30 น. ถึง 18 ส.ค. 67 เวลา 16:30 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 1

19 ส.ค. 67 เวลา 09:30 น. ถึง 8 ธ.ค. 67 เวลา 16:30 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 2
จำนวนรับสมัคร
4 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 2 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร
  1. เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
  2. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี
  3. เป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา 2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
  4. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของโรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม
  5. ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรม
  6. เป็นผู้ที่กำลังปฏิบัติงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเภสัชบำบัดอยู่
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
30,000 บาท
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 29,400 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร
  1. เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
  2. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี
  3. เป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา 2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
  4. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของโรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม
  5. ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรม
  6. เป็นผู้ที่กำลังปฏิบัติงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเภสัชบำบัดอยู่
หลักการและเหตุผล

เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้ยา การปฏิบัติงานของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพทำให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้ยา และเนื่องจากองค์ความรู้และทักษะด้านบริบาลทางเภสัชกรรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เภสัชกรจะต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศไทยอย่างเหมาะสม หลักสูตรนี้จะเตรียมความพร้อมเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต การบริบาลทางเภสัชกรรมเชิงลึกโดยใช้พื้นฐานความรู้ด้านเภสัชบำบัดบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ มีทักษะในการประยุกต์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดในการวางแผน แก้ไข ติดตาม และป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมทุกด้าน รวมทั้งข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ อาการไม่พึงประสงค์ ความสะดวกของผู้ป่วยในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามสั่งได้โดยง่าย เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรม ทำให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริม สนับสนุนในการให้ข้อมูล และการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและสหสาขาวิชาชีพ

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อที่จะสามารถนำไปปฏิบัติตลอดจนริเริ่มการให้บริการวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยได้จริงเมื่อสำเร็จหลักสูตรการอบรม เน้นการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based practice) ในการดูแลผู้ป่วยด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วย จึงได้ร่วมมือจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาโรคไตและการบำบัดทดแทนไต) Certificate in Pharmacy (Nephrology and Renal Replacement Therapy) หลักสูตรภาคปฏิบัติ 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยความอนุเคราะห์ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้กำหนดให้เภสัชกรฝึกปฏิบัติงาน ณ ห้องไตเทียม คลินิกผู้ป่วย และหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย โดยหลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคไต เป็นหลักสูตรเพื่อการรับรองสมรรถนะและเพื่อการเก็บสะสมหน่วยกิต มีระยะเวลาการเรียนรู้รวมจำนวน 450 ชั่วโมง ประกอบด้วยการสอนภาคทฤษฎีโดยการบรรยายจำนวน 30 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลจำนวน 420 ชั่วโมง

รายละเอียดการฝึกอบรม

1) ภาคทฤษฎี การบรรยายจำนวน 30 ชั่วโมง โดยมีการบรรยายครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้

หัวข้อที่ เนื้อหา/กระบวนการ รูปแบบการอบรม ระยะเวลา (ชั่วโมง)
1

ระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรม

  • ขั้นตอนการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาล
  • ระบบการติดตามและส่งต่อการให้บริบาลทางเภสัชกรรม
  • ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อการบันทึกกิจกรรมและภาระงานในการบริบาลทางเภสัชกรรม
บรรยายเนื้อหา 3
2 การประมาณค่าการทำงานของไต บรรยายเนื้อหา 1
3 โรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อน บรรยายเนื้อหา 2
4 การพิจารณาขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง บรรยายเนื้อหา 1
5 การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (CKD slow progression, management of CKD complications) บรรยายเนื้อหา 1.5
6 เภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีความผิดปกติของสมดุลน้ำ เกลือแร่ และกรด-ด่างในเลือด บรรยายเนื้อหา 1.5
7 หลักการทั่วไปของการบำบัดทดแทนไต  บรรยายเนื้อหา 1
8 การฟอกเลือดทางหลอดเลือดดำ (HD / CRRT) บรรยายเนื้อหา 1
9 หลักการทางเภสัชจลนศาสตร์และการพิจารณาขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต บรรยายเนื้อหา 1.5
10 การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดทางหลอดเลือดดำ (Chronic hemodialysis) บรรยายเนื้อหา 1.5
11 การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดทางหลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง (CRRT) บรรยายเนื้อหา 2
12 การล้างไตทางช่องท้อง บรรยายเนื้อหา 1
13 การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง บรรยายเนื้อหา 2
14 การใช้ยากดภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคโกลเมอรูลัส และผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต บรรยายเนื้อหา 2
15 การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต (Very-early phase management) บรรยายเนื้อหา 2
16 การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต (Long-term management) บรรยายเนื้อหา 3
17 การประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง บรรยายเนื้อหา 2
รวม 30 ชั่วโมง

 

2) ภาคปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติงานจำนวน 420 ชั่วโมง เป็นการให้บริบาลผู้ป่วยจริงควบคู่ไปกับการเรียนภาค
ทฤษฎี รายละเอียดของกิจกรรมประจำวันมีดังนี้

เวลา กิจกรรม
08:00 - 12.00 น.

กิจกรรมการให้บริบาลทางเภสัชกรรม ดังนี้

 - รวบรวม/ทบทวนข้อมูลผู้ป่วย

 - จัดทำการประสานรายการยา

 - ให้คำแนะนำปรึกษาการใช้ยาแก่ผู้ป่วย

 - บริการข้อมูลทางยาแก่ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์

 - ประเมินและจัดทำเอกสารสำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา

13.00 - 16.00 น.

อภิปรายกรณีศึกษากับอาจารย์ประจำแหล่งฝึกร่วมกับดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนด ได้แก่

 - การเรียนการสอนภาคทฤษฎี

 - นำเสนอกรณีศึกษาจำนวน 2 ครั้ง (สัปดาห์ที่ 8 และ 12)

 - นำเสนอการวิพากษ์วรรณกรรมปฐมภูมิ จำนวน 1 ครั้ง (สัปดาห์ที่ 4)

 - ให้นำเสนอหัวข้อวิชาการ จำนวน 1 ครั้ง (สัปดาห์ที่ 6)

 

ในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้าย ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเขียนโครงร่างงานบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อนำ เสนอก่อนการดำเนินโครงการจริง ณ หน่วยงานต้นสังกัด

หลักสูตรนี้มีระยะเวลาการฝึกอบรม 16 สัปดาห์ จำนวนชั่วโมงการอบรมรวม 450 ชั่วโมง ประกอบด้วยการสอนภาคทฤษฎีโดยการบรรยายจำนวน 30 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลจำนวน 420 ชั่วโมงโดยเนื้อหาการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติของหลักสูตรนี้สามารถเทียบได้กับ 

  1. หน่วยกิตของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย จำนวน 16 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็น ภาคทฤษฎี 2 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 15 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ 14 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 30 ชั่วโมง)
  2. หน่วยกิตต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ (Continuing Pharmacy Education, CPE) ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม ได้จำนวน 30 หน่วยกิต ในส่วนของภาคทฤษฎีโดยการบรรยาย 30 ชั่วโมง

การบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคไต (ปี 2567) รุ่นที่ 1

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.ภก. วันชนะ สิงห์หัน
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะเภสัชศาสตร์
ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นายชลธาร อูปอินทร์ (เจ้าหน้าที่ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์)
chonlathan.a@cmu.ac.th
053-941515
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ต.ค. 2567 - 28 ต.ค. 2567
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 16,800 บาท


เรียนในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 10 ต.ค. 2567 - 14 พ.ย. 2567
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 5,100 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 18 ต.ค. 2567 - 31 ต.ค. 2567
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 5,000 บาท


เรียนในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 21 ต.ค. 2567 - 30 ต.ค. 2567
ภาษาไทย
ราคา 4,000 บาท


เรียนในสถานศึกษา