หลักสูตรอบรมเทคนิคการแพทย์เฉพาะทาง สาขาจีโนมิกส์ และการแพทย์แม่นยำ รุ่น 4 – 2567


เพื่อพัฒนานักเทคนิคการแพทย์ หรือนักวิทยาศาสตร์ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แม่นยำ ทั้งในด้านการตรวจวิเคราะห์ วิจัย การอ่านผลและแปลผลทางจีโนมิกส์ได้ โดยมีเป้าหมายคือ การนำข้อมูลจากการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การวิจัย ไปใช้ในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่จำเพาะของแต่ละคนและหรือกลุ่มของประชาชนคนไทยโดยเฉพาะ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีการแพทย์แบบจีโนมิกส์ สามารถยืดอายุผู้ป่วยมะเร็ง ป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ลดการเกิดโรคเรื้อรัง และลดการแพ้ยารุนแรงลง และเพื่อเพิ่มพูนทักษะการวิจัยด้านการแพทย์แบบจีโนมิกส์ที่สอดคล้องกับปัญหาสาธารณสุขปัจจุบัน เพื่อให้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน โรงพยาบาล ศูนย์แล็บเฉพาะทางการแพทย์แบบจีโนมิกส์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและเกิดอุตสาหกรรมการแพทย์สมัยใหม่ กรณีที่มีปริญญา วท.บ.เทคนิคการแพทย์ จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการอบรมจากสภาเทคนิคการแพทย์ เพิ่มเติมจากประกาศนียบัตรจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสามารถใช้เป็นคะแนน CMTE ได้ 50 คะแนนและสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโท

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 1 พ.ค. 67 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 31 ก.ค. 67 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 31 ก.ค. 67 เวลา 23:59 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 ส.ค. 67 เวลา 08:30 น. ถึง 30 พ.ย. 67 เวลา 16:30 น.
Online learning และ On-Site Training
ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และห้องปฏิบัติการอณูพันธุศาสตร์ของสถาบันสมทบ
อบรมในรูปแบบ On-site ร่วมกับ Online ผ่าน Zoom Meeting // อบมรมวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น. (รวมระยะเวลา 4 เดือน)
จำนวนรับสมัคร
20 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 4 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร
  1. นักเทคนิคการแพทย์ที่ทำงานแล้วและ/หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ และมีความต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะ
  2. ได้รับการอนุมัติให้ลาอบรมเต็มเวลา กรณีที่มีต้นสังกัด
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
60,600 บาท
(ใบเสร็จรับเงินที่ออกจากระบบจะไม่สามารถแก้ไขวันที่ได้ / วันที่บนใบเสร็จรับเงินจะลงวันที่ผู้สมัครชำระเงินจริงเท่านั้น)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 60,000 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร
  1. นักเทคนิคการแพทย์ที่ทำงานแล้วและ/หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ และมีความต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะ
  2. ได้รับการอนุมัติให้ลาอบรมเต็มเวลา กรณีที่มีต้นสังกัด
หลักการและเหตุผล

การให้บริการทางการแพทย์ที่เรียกว่า การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) ต้องอาศัยความแม่นยำและจำเพาะมากกว่าการให้บริการทั่วไป โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomic Medicine) ซึ่งเป็นแพทย์ที่ใช้ข้อมูลพันธุกรรมและข้อมูลจำเพาะ แม่นยำในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ที่เกี่ยวข้องของแต่ละบุคคล ซึ่งต้องมีความเชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์ วิจัยทางจีโนมิกส์ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดการเลือกใช้หรือเพิ่มประสิทธิภาพของยาและเทคโนโลยีในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาฟื้นฟู ลดภาวะแทรกซ้อน และการป้องกันผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรักษาของบุคคลนั้น ทำให้การดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ไม่แม่นยำ โดยใช้เทคโนโลยีระดับสูง และสามารถให้บริการใน Medical Hub ตามแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) พ.ศ. 2563 - 2567 เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในประเทศและกลุ่มประเทศอาเซียนได้ รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยและการพัฒนาประเทศไทย (Thailand 4.0) โดยในปัจจุบันประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) พ.ศ. 2563 - 2567 ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่

1. ด้านการวิจัยและการประยุกต์ใช้ (Research and Implementation) กำหนดหัวข้อการวิจัยหลัก 5 หัวข้อ ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและโรคหายาก และโรคที่เกี่ยวกับพันธุศาสตร์มารดาและทารก โรคไม่ติดต่อและการศึกษาในกลุ่มประชากรแบบระยะยาว โรคติดเชื้อ เภสัชพันธุศาสตร์

2. ด้านการบริการ (Service) พัฒนามาตรฐานและคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการในระบบประกันสุขภาพของไทย ซึ่งรวมถึงการจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติและการควบคุมดูแลชุดทดสอบให้มีมาตรฐาน

3. ด้านการวิเคราะห์และจัดการข้อมูล (Data Analysis and Management) เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการคำนวณและการจัดการข้อมูล ซึ่งรวมถึงการพัฒนาบุคลากร ด้านชีวสารสนเทศ (Bioinformaticians) การผลิตเครื่องมือทางชีวสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดจั้งศูนย์ข้อมูลประมวลผลเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการรักษาตามแนวทางของการแพทย์จีโนมิกส์

4. ด้าน Ethical, Legal and Social Implications (ELSI) เป็นการศึกษาและวางแผนการจัดการกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีการแพทย์จีโนมิกส์ เช่น ประเด็นเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การจัดการความเป็นส่วนตัว การรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากความก้าวหน้าในการวิจัยและพัฒนา โดยเป็นการศึกษาทั้งในด้านจริยธรรม กฎหมาย และสังคม เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย กฎหมาย หรือแนวปฏิบัติต่อไป

5. ด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากร (Human Resource Production and Development) พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์จีโนมิกส์จำนวน 794 คน ภายใน 5 ปี ประกอบด้วย 4 สาขา ดังนี้

1)    แพทย์ด้านเวชพันธุศาสตร์ 34 คน

2)    ผู้ให้คำปรึกษาด้านพันธุศาสตร์ 110 คน

3)    สหสาขาวิชาชีพด้านพันธุศาสตร์ ชีววิทยาระดับโมเลกุลและพยาธิวิทยาระดับโมเลกุล 150 คน

4)    นักชีวสารสนเทศ (Bioinformaticians) และนักระบาดวิทยาพันธุศาสตร์ 500 คน

6. ด้านการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการแพทย์จีโนมิกส์ในประเทศไทย (New Industry Development) การแพทย์จีโนมิกส์เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต่อยอดไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมใหม่ (New S–Curves) ซึ่งมาตรการนี้การเป็นบูรณาการแนวโน้มความต้องการการแพทย์จีโนมิกส์ของไทย สนับสนุนให้เกิดการลงทุนหรือร่วมลงทุนจากภาคเอกชนในการจัดทำห้องปฏิบัติการมาตรฐานนานาชาติ การส่งเสริมงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีศักยภาพด้านการบริการด้วยระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์จีโนมิกส์

นักเทคนิคการแพทย์เชี่ยวชาญการแพทย์แม่นยำหรือนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญและจำเป็นในการตรวจวิเคราะห์ วิจัย ทางการแพทย์ ซึ่งต้องมีความเชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์ วิจัย การอ่านผลและแปลผลทางจีโนมิกส์ได้ เป้าหมายคือ การนำข้อมูลจากการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การวิจัย ไปใช้ในการดูแลสุขภาพของประชาชนที่จำเพาะของแต่ละคนและหรือกลุ่มของประชาชนคนไทยโดยเฉพาะ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีการแพทย์แบบจีโนมิกส์ สามารถยืดอายุผู้ป่วยมะเร็ง ป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ลดการเกิดโรคเรื้อรัง และลดการแพ้ยารุนแรงลง และเพื่อเพิ่มพูนทักษะการวิจัยด้านการแพทย์แบบจีโนมิกส์ที่สอดคล้องกับปัญหาสาธารณสุขปัจจุบัน เพื่อให้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน โรงพยาบาล ศูนย์แล็บเฉพาะทางการแพทย์แบบจีโนมิกส์ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและเกิดอุตสาหกรรมการแพทย์สมัยใหม่ ศูนย์ตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยรองรับความต้องการของประชาชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้อีก 1 ช่องทาง โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนานักเทคนิคการแพทย์ หรือนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) จะส่งผลต่อการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน ลดการป่วย และป้องกันการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ไม่แม่นยำ นอกจากนี้ยังทำให้มีศูนย์บริการและมีเทคโนโลยีระดับสูงไว้บริการใน Medical Hub เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรภายในประเทศ อันจะส่งผลดีต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ และเพิ่มตำแหน่งงานทั้งระดับผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงาน

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรนี้ผู้เรียนต้องเรียนวิชาเฉพาะทั้งหมด 5 วิชา โดยมีจำนวนการเรียนรู้รวม 465 ชั่วโมง และเลือกเรียนวิชาเลือกอย่างน้อย 1 วิชา (โดยวิชาเลือกมีจำนวนชั่วโมงการเรียน วิชาละ 15 ชั่วโมง) รายละเอียดดังแสดง

วิชาเฉพาะ หน่วยกิต* จำนวนชั่วโมง
1. MTPM 0101 ระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติการจีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำ 2 (2-0-4) 30
2. MTPM 0201 พันธุศาสตร์และจีโนมของมนุษย์ 2 (2-0-4) 30
3. MTPM 0202 การแพทย์แม่นยำระดับโมเลกุลและชีวสารสนเทศทางการแพทย์ 3 (1-6-5) 105
4. MTPM 0203 การแพทย์แม่นยำและการประยุกต์ 3 (2-3-6) 75
5. MTPM 0204 การฝึกงานทางห้องปฏิบัติการการแพทย์แม่นยำ 5 (0-15-10) 225
     
วิชาเลือก*  (เลือกอย่างน้อย 1 วิชา) หน่วยกิต* จำนวนชั่วโมง
1. MTEG 0101 ภาษาอังกฤษสำหรับจีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำ 1 (1-0-2) 15
2. MTPM 0102 การแพทย์แม่นยำและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ HIV/AIDS 1 (1-0-2) 15

* หน่วยกิตทางวิชาชีพของสภาเทคนิคการแพทย์

** ผู้เรียนต้องเลือกเรียน “วิชาเลือก” อย่างน้อย 1 วิชา

หลักสูตรอบรมเทคนิคการแพทย์เฉพาะทาง สาขาจีโนมิกส์ และการแพทย์แม่นยำ รุ่น 4 – 2567

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.ดร. ชญาดา สิทธิเดช ธารินเจริญ
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะเทคนิคการแพทย์
ภาควิชาเทคนิคการแพทย์
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นางสาวอาทิตยา มารัตน์ (เจ้าหน้าที่ประสานงานหลักสูตร)
atitaya.ma@cmu.ac.th
053-935-064
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่
...
การเรียนรูปแบบ Online
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ผ่าน Online Platform

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 8 ม.ค. 2568 - 23 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ไม่มีค่าใช้จ่าย


เรียนในสถานศึกษา
Card image cap

เกินระยะเวลาการรับสมัครวันที่
28 ก.ย. 2567 - 15 ม.ค. 2568

ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 13 ธ.ค. 2567 - 14 ก.พ. 2568
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 2,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 23 ธ.ค. 2567 - 31 ม.ค. 2568
ภาษาอังกฤษ
สะสมหน่วยกิต
ราคา 35,600 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา