เภสัชกรรมสมุนไพร ปี 2568


เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีคุณภาพ โดยผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้เรียนรู้และเข้าใจแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ สารสกัดและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น  การแยกเตรียมสารสกัด การทดสอบประสิทธิผลของสารสกัด การออกแบบรูปแบบและการตั้งตำรับของผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยเทคโนโลยีทางเภสัชกรรมที่ทันสมัยและเหมาะสมต่อการนำส่งสารสำคัญ การทดสอบความคงตัว และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีคุณภาพและมีประสิทธิผล ที่สามารถนำไปสู่การขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและขยายการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ต่อไป

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 13 ก.ย. 67 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 30 เม.ย. 68 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 30 เม.ย. 68 เวลา 16:30 น.
ช่วงเวลาเรียน
3 พ.ค. 68 เวลา 08:30 น. ถึง 30 ก.ย. 68 เวลา 23:59 น.
Online learning และ On-Site Training
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สถานที่ในการฝึกอบรมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)
ภาคบรรยาย: ผ่าน MANGO Canvas, Zoom Meeting // ภาคปฏิบัติ: โมดูลที่ 1 อบรมออนไซต์ที่คณะเภสัชศาสตร์ มช. (วันที่ 2-6 มิ.ย. 68) และโมดูลที่ 2 อบรมออนไลน์ (วันที่ 9-13 มิ.ย. 68)
จำนวนรับสมัคร
10 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 5 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร

กรณีที่ต้องการรับประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร) ที่อนุมัติโดยสภาเภสัชกรรม และใบรับรองสมรรถนะ

  1. เป็นเภสัชกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
  2. ไม่เคยถูกลงโทษหรือมีมลทินมัวหมองในเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพในระยะเวลา 2 ปีก่อนสมัครเข้ารับการอบรม

กรณีที่ไม่ต้องการรับประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม

  1. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ หรือ
  2. มีประสบการณ์ทำงานด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
50,600 บาท
(ใบเสร็จรับเงินที่ออกจากระบบจะไม่สามารถแก้ไขวันที่ได้ วันที่บนใบเสร็จรับเงินจะเป็นวันที่ผู้สมัครชำระเงินจริงเท่านั้น)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 50,000 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร

กรณีที่ต้องการรับประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร) ที่อนุมัติโดยสภาเภสัชกรรม และใบรับรองสมรรถนะ

  1. เป็นเภสัชกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
  2. ไม่เคยถูกลงโทษหรือมีมลทินมัวหมองในเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพในระยะเวลา 2 ปีก่อนสมัครเข้ารับการอบรม

กรณีที่ไม่ต้องการรับประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม

  1. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ หรือ
  2. มีประสบการณ์ทำงานด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีกระแสความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อจำหน่ายทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศเป็นจำนวนมาก ประกอบกับความหลากหลายทางชีวภาพด้านสมุนไพรของประเทศไทย ทำให้เป็นการเพิ่มโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทแห่งชาติด้านสมุนไพร (พ.ศ. 2560-2564) และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 เป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยจึงมีความสำคัญยิ่งต่อบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพในด้านการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพและสร้างรายได้ของประเทศ  ดังนั้นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร) จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ และทักษะในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร เพื่อนำไปสู่การมีผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีคุณภาพที่ผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาแบบครบวงจร โดยมุ่งหวังให้ผู้ที่ผ่านการอบรมมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และเข้าใจแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ สารสกัดและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น การแยกเตรียมสารสกัด การทดสอบประสิทธิผลของสารสกัด การออกแบบรูปแบบและการตั้งตำรับของผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยเทคโนโลยีทางเภสัชกรรมที่ทันสมัยและเหมาะสมต่อการนำส่งสารสำคัญ การทดสอบความคงตัว และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีคุณภาพและมีประสิทธิผล ที่สามารถนำไปสู่การขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและขยายการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ต่อไป

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรของวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพร (วภส.) สภาเภสัชกรรม มีระยะเวลาการอบรมรวม 510 ชั่วโมง (18 สัปดาห์) โดยแบ่งเป็นการอบรมภาคทฤษฎีจำนวน 30 ชั่วโมง (2 สัปดาห์) และภาคปฏิบัติ 480 ชั่วโมง (16 สัปดาห์) รายละเอียดดังตาราง

1) ภาคทฤษฎี จำนวน 30 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต**) ระยะเวลา 2 สัปดาห์

ตารางที่ 1 เนื้อหาการอบรมภาคบรรยาย (เรียนนอกเวลาราชการในรูปแบบสอนสดและวิดีโอ)

หัวข้อที่ เนื้อหา/กระบวนการ รูปแบบการอบรม จำนวนชั่วโมง อาจารย์ผู้สอน
1 บทนำ กระบวนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร บรรยาย 2

ผศ.ดร.ภญ.อำไพ พฤติวรพงศ์กุล

รศ.ดร.ภก.ทรงวุฒิ ยศวิมลวัฒน์

2 กฎหมาย การควบคุมกำกับและการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร บรรยาย 4 ภญ.ปุณฑริกา แก้วเขียว
3 แนวโน้มผลิตภัณฑ์และความต้องการของผู้บริโภค บรรยาย 3 ดร.ภญ.มณฑกา ธีรชัยสกุล
4 การทดสอบประสิทธิผลและความปลอดภัย บรรยาย 4

รศ.ดร.นสพ.สีวบูรณ์ สิรีรัฐวงศ์

รศ.ดร.นพ.ณัฐ คูณรังษีสมบูรณ์

5 การจัดหาและการจัดการวัตถุดิบ ตามหลักการ GACP บรรยาย 3 ผศ.ดร.ภก.เอกลักษณ์ อินทรักษา
6 กระบวนการสกัดและการแยก บรรยาย 3 ผศ.ดร.ภญ.สุนีย์ จันทร์สกาว
7 การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ สารสกัด และตำรับยา ตามเภสัชตำรับ บรรยาย 3

ผศ.ดร.ภญ.อำไพ พฤติวรพงศ์กุล

 

8

การตั้งตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร และการศึกษาความคงสภาพ

 

บรรยาย 5

รศ.ดร.ภก.ทรงวุฒิ ยศวิมลวัฒน์

ผศ.ดร.ภก.ปรัชญา ทิพย์ดวงตา

รศ.ดร.ภญ.วรรธิดา ชัยญาณะ

9 การออกแบบและคัดเลือกบรรจุภัณฑ์และฉลาก บรรยาย 3 อ.ดร.ภญ.กัณฐภรณ์ เขียวฟู
รวม 30 ชั่วโมง

 

2) ภาคปฏิบัติ จำนวน 480 ชั่วโมง (16 หน่วยกิต**) ระยะเวลา 16 สัปดาห์

ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ การฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานที่จำเป็น และฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่จริง รายละเอียด ดังนี้

2.1) การฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานที่จำเป็น จำนวน 180 ชั่วโมง (6 หน่วยกิต**) *

1)      ปฏิบัติงานทักษะการคัดเลือกและควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ (1 สัปดาห์)

2)      ปฏิบัติงานทักษะกระบวนการสกัดและการแยก (1 สัปดาห์)

3)      ปฏิบัติงานทักษะการควบคุมคุณภาพของสารสกัด (1 สัปดาห์)

4)      ปฏิบัติงานทักษะการทดสอบประสิทธิผลและความปลอดภัย (1 สัปดาห์)

5)      ปฏิบัติงานทักษะการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์ การตั้งตำรับและการศึกษาความคงสภาพ (1 สัปดาห์)

6)      ปฏิบัติงานทักษะการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร (1 สัปดาห์)

2.2) ฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่จริงระยะเวลา จำนวน 300 ชั่วโมง (10 หน่วยกิต**)

เป็นการฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่จริงตามที่ตนสังกัดและปฏิบัติงานอยู่หรือตามแหล่งฝึกที่ได้รับการรับรองจากวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพร โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

** หมายเหตุ: หน่วยกิตของวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพร (วภส.) สภาเภสัชกรรม

 

ตารางที่ 2 รูปแบบการจัดอบรมภาคปฏิบัติทักษะพื้นฐานที่จำเป็น ได้แก่ การอบรมแบบโมดูล งานมอบหมาย และฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ รายละเอียด ดังนี้

1) การอบรมแบบโมดูล จำนวน 2 ครั้ง จำนวน 60 ชั่วโมง (2 หน่วยกิต**)

โมดูลที่ หัวข้อ ช่วงวันอบรม จำนวนชั่วโมง หมายเหตุ
1

กระบวนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ประกอบด้วย

1)   ทักษะการคัดเลือกและควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ

2)   ทักษะกระบวนการสกัดและการแยก

3)   ทักษะการควบคุมคุณภาพของสารสกัด

4)   ทักษะการออกแบบรูปแบบผลิตภัณฑ์ การตั้งตำรับและการศึกษาความคงสภาพ

วันที่ 2-6 มิ.ย. 68 30

จัดอบรม 1 สัปดาห์

ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2

การทดสอบประสิทธิผลและความปลอดภัย และการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร ประกอบด้วย

1)   ทักษะการทดสอบประสิทธิผลและความปลอดภัย

2)   ทักษะการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร

วันที่ 9-13 มิ.ย. 68 30 จัดอบรม 1 สัปดาห์ รูปแบบออนไลน์

รวม

60 ชั่วโมง  

หมายเหตุ: ช่วงเวลาการอบรมออนไลน์อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

2) งานมอบหมาย

ลักษณะงาน: Paper work/ Clip VDO

ช่วงเวลา: 1-30 มิ.ย. 2568 ระยะเวลาในการทำงาน 4 สัปดาห์ หรือ 120 ชั่วโมง (4 หน่วยกิต**)

 

3) ฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 300 ชั่วโมง (10 หน่วยกิต**)

เป็นการฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่จริงตามที่ตนสังกัดและปฏิบัติงานอยู่หรือตามแหล่งฝึกที่ได้รับการรับรองจากวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพร โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ อย่างน้อย 1 ผลิตภัณฑ์ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด (ช่วงเวลา 1 ก.ค. ถึง 15 ก.ย. 2568)

 

** หมายเหตุ: หน่วยกิตของวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพร (วภส.) สภาเภสัชกรรม

เภสัชกรรมสมุนไพร ปี 2568

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.ดร.ภญ. อำไพ พฤติวรพงศ์กุล
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะเภสัชศาสตร์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นางสาวรติรัตน์ วรรณก้อน (เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานหลักสูตร)
ratirat.wan@cmu.ac.th
053-944374
...
ใบรับรองสมรรถนะ
ใบรับรองสมรรถนะ (Competency Certificate) คือใบประกาศนียบัตรการันตีความสามารถและสมรรถนะเฉพาะด้าน ที่ผู้เรียนจะได้รับหลังผ่านการประเมินจากหลักสูตรอบรมระยะสั้น
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่
...
การเรียนรูปแบบ Online
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ผ่าน Online Platform

* กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนลงทะเบียนหลักสูตร
แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 15 พ.ย. 2567 - 6 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,600 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 9 ต.ค. 2567 - 2 ธ.ค. 2567
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 4,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 28 ก.ย. 2567 - 15 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 21 ต.ค. 2567 - 8 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ไม่มีค่าใช้จ่าย


เรียนออนไลน์