การบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ (ปี 2568) รุ่นที่ 3


การบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ เป็นหลักสูตรภาคปฏิบัติ 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน โดยเภสัชกรที่เข้ารับการฝึกจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยใน

1. ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลด

  • ใบสมัครเพื่อแสดงความจำนงเข้าร่วมรับการอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม ได้ที่ https://cmu.to/CVCLS
  • หนังสือเชิญอบรมเพื่อเป็นเอกสารแนบสำหรับต้นสังกัด ได้ที่ https://cmu.to/q9s0o

2. รายชื่อผู้สมัครหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ (ปี 2568) ได้ที่ https://cmu.to/cIXsp

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 1 ต.ค. 67 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 1 ก.ย. 68 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 1 ก.ย. 68 เวลา 17:00 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 ก.พ. 68 เวลา 08:00 น. ถึง 31 พ.ค. 68 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 1

1 มิ.ย. 68 เวลา 08:00 น. ถึง 30 ก.ย. 68 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 2

1 ต.ค. 68 เวลา 08:00 น. ถึง 31 ม.ค. 69 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 3
จำนวนรับสมัคร
6 คน
(รับสมัคร 2 คน/รอบการอบรม : เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้สมัครครบตามจำนวนรับสมัครในแต่ละรอบ)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร
  1. เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
  2. เป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา 2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
  3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 เดือน
  4. เป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือมีความสนใจในงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
30,600 บาท
(ยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท สำหรับนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 30,000 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร
  1. เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
  2. เป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา 2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
  3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 เดือน
  4. เป็นเภสัชกรผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือมีความสนใจในงานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน
หลักการและเหตุผล

เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้ยา การปฏิบัติงานของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพทำให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้ยา และเนื่องจากองค์ความรู้และทักษะด้านบริบาลทางเภสัชกรรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เภสัชกรจะต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศไทยอย่างเหมาะสม หลักสูตรนี้จะเตรียมความพร้อมเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยในการบริบาลทางเภสัชกรรมเชิงลึกโดยใช้พื้นฐานความรู้ด้านเภสัชบำบัดบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ มีทักษะในการประยุกต์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดในการวางแผน แก้ไข ติดตาม และป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมทุกด้าน รวมทั้งข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ อาการไม่พึงประสงค์ ความสะดวกของผู้ป่วยในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามสั่งได้โดยง่าย เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรม ทำให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริม สนับสนุนในการให้ข้อมูลและการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและสหสาขาวิชาชีพ

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงหลักการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อที่จะสามารถนำไปปฏิบัติตลอดจนริเริ่มการให้บริการวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยได้จริงเมื่อสำเร็จหลักสูตรการอบรม เน้นการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based practice) ในการดูแลผู้ป่วย ด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วย จึงได้ร่วมมือจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาอายุรศาสตร์) Certificate in Pharmacy (Internal Medicine) หลักสูตรภาคปฏิบัติ 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยความอนุเคราะห์ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้กำหนดให้เภสัชกรฝึกปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชายและหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยใน โดยหลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ เป็นหลักสูตรเพื่อการรับรองสมรรถนะและเพื่อการเก็บสะสมหน่วยกิต มีระยะเวลาการเรียนรู้รวมจำนวน 450 ชั่วโมง ประกอบด้วยการสอนภาคทฤษฎีโดยการบรรยายจำนวน 30 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลจำนวน 420 ชั่วโมง

ผู้เรียนสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตได้ 8 หน่วยกิต จาก 3 กระบวนวิชา ดังต่อไปนี้

  1. กระบวนวิชา 452744 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติระดับบัณฑิตศึกษา 1 (3 หน่วยกิต)
  2. กระบวนวิชา 452745 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติระดับบัณฑิตศึกษา 2 (3 หน่วยกิต)
  3. กระบวนวิชา 452779 หัวข้อเลือกสรรทางเภสัชศาสตร์                    (2 หน่วยกิต)

โดย 3 กระบวนวิชานี้บรรจุอยู่ในหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ซึ่งจัดอยู่ในกระบวนวิชาเลือกในสาขาวิชา รายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3) ดังเอกสารแนบท้าย

รายละเอียดการฝึกอบรม

1. ภาคทฤษฎี การบรรยาย 30 ชั่วโมง โดยมีการบรรยายครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้

หัวข้อที่ เนื้อหา/กระบวนการ รูปแบบการอบรม ระยะเวลา
1 ระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยใน
  • ขั้นตอนการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยใน
  • ระบบการติดตามและส่งต่อการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยใน
  • ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อการบันทึกกิจกรรมและภาระงาน
    ในการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยใน
บรรยายเนื้อหา 1 ชั่วโมง
2 เภสัชบําบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ บรรยายเนื้อหา 3 ชั่วโมง
3 เภสัชบําบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด บรรยายเนื้อหา 3 ชั่วโมง
4 เภสัชบําบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคไต ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์และการให้สารน้ำ บรรยายเนื้อหา 3 ชั่วโมง
5 เภสัชบําบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท บรรยายเนื้อหา 3 ชั่วโมง
6 เภสัชบําบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคจิตเวชที่พบบ่อย บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง
7 เภสัชบําบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคทางระบบต่อมไร้ท่อ บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง
8 เภสัชบําบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคทางระบบทางเดินหายใจ บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง
9 เภสัชบําบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร บรรยายเนื้อหา 3 ชั่วโมง
10 เภสัชบําบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคข้อและภูมิคุ้มกันวิทยา บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง
11 เภสัชบำบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคทางโลหิตวิทยา บรรยายเนื้อหา 3 ชั่วโมง
12 หลักการทางเภสัชจลนศาสตร์ และการตรวจและควบคุมระดับยาในเลือด บรรยายเนื้อหา 3 ชั่วโมง
  รวม   30 ชั่วโมง

2. ภาคปฏิบัติ  ฝึกปฏิบัติงาน 420 ชั่วโมง เป็นการให้บริบาลผู้ป่วยจริงควบคู่ไปกับการเรียนภาคทฤษฎี ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชายและหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยกิจกรรมประจำวัน รายละเอียดดังนี้

เวลา กิจกรรม
08.00 - 09.00 น. ทบทวนข้อมูลผู้ป่วยประจำวัน
09.00 - 12.00 น. ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยข้างเตียงร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ (ward round) ร่วมกับกิจกรรมการให้บริบาลทางเภสัชกรรมดังนี้
  • จัดทำการประสานรายการยา (medication reconciliation) ในผู้ป่วยที่รับใหม่
  • ให้คำแนะนำปรึกษาการใช้ยาแก่ผู้ป่วยและผู้ป่วยกลับบ้านข้างเตียง (drug counselling)
  • ประเมินและจัดทำเอกสารสำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reaction)
  • บริการข้อมูลทางยาแก่ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ (drug information service)
13.00 - 16.00 น. อภิปรายกรณีศึกษากับอาจารย์ประจำแหล่งฝึกร่วมกับดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนด ได้แก่
  • การเรียนการสอนภาคทฤษฎี
  • นำเสนอกรณีศึกษาจำนวน 4 ครั้ง (เดือนละ 1 ครั้ง)
  • นำเสนอการวิพากษ์วรรณกรรมปฐมภูมิ จำนวน 4 ครั้ง (เดือนละ 1 ครั้ง)
  • ให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 4 ครั้ง (เดือนละ 1 ครั้ง)

ในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้าย ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเขียนโครงร่างงานบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อนำเสนอก่อนการดำเนินโครงการจริง ณ หน่วยงานต้นสังกัด

หมายเหตุ

  1. หลักสูตรนี้มีระยะเวลาการฝึกอบรม 16 สัปดาห์ โดยเนื้อหาการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเทียบเท่าได้กับหน่วยกิตของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย จำนวน 16 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็น ภาคทฤษฎี 2 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 15 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ 14 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 30 ชั่วโมง)
  2. ผู้เรียนสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ (Continuing Pharmacy Education, CPE) ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม ได้จำนวน 30 หน่วยกิต ในส่วนของภาคทฤษฎีโดยการบรรยาย 30 ชั่วโมง

การบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ (ปี 2568) รุ่นที่ 3

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.ภญ. มันติวีร์ นิ่มวรพันธุ์
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะเภสัชศาสตร์
ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นายชลธาร อูปอินทร์ (เจ้าหน้าที่ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์)
chonlathan.a@cmu.ac.th
053-941515
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่

* กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนลงทะเบียนหลักสูตร
แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 15 พ.ย. 2567 - 6 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,600 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 9 ต.ค. 2567 - 2 ธ.ค. 2567
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 4,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 28 ก.ย. 2567 - 15 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 21 ต.ค. 2567 - 8 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ไม่มีค่าใช้จ่าย


เรียนออนไลน์