หลักการและเหตุผล
เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้ยา การปฏิบัติงานของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพทำให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้ยา และเนื่องจากองค์ความรู้และทักษะด้านบริบาลทางเภสัชกรรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เภสัชกรจะต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศไทยอย่างเหมาะสม หลักสูตรนี้จะเตรียมความพร้อมเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต การบริบาลทางเภสัชกรรมเชิงลึกโดยใช้พื้นฐานความรู้ด้านเภสัชบำบัดบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ มีทักษะในการประยุกต์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดในการวางแผน แก้ไข ติดตาม และป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมทุกด้าน รวมทั้งข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ อาการไม่พึงประสงค์ ความสะดวกของผู้ป่วยในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามสั่งได้โดยง่าย เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรม ทำให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริม สนับสนุนในการให้ข้อมูล และการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและสหสาขาวิชาชีพ
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อที่จะสามารถนำไปปฏิบัติตลอดจนริเริ่มการให้บริการวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยได้จริงเมื่อสำเร็จหลักสูตรการอบรม เน้นการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based practice) ในการดูแลผู้ป่วยด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วย จึงได้ร่วมมือจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาโรคไตและการบำบัดทดแทนไต) Certificate in Pharmacy (Nephrology and Renal Replacement Therapy) หลักสูตรภาคปฏิบัติ 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยความอนุเคราะห์ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้กำหนดให้เภสัชกรฝึกปฏิบัติงาน ณ ห้องไตเทียม คลินิกผู้ป่วย และหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย โดยหลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาของหลักสูตร
หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคไต เป็นหลักสูตรเพื่อการรับรองสมรรถนะและเพื่อการเก็บสะสมหน่วยกิต มีระยะเวลาการเรียนรู้รวมจำนวน 450 ชั่วโมง ประกอบด้วยการสอนภาคทฤษฎีโดยการบรรยายจำนวน 30 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลจำนวน 420 ชั่วโมง
ผู้เรียนสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตได้ 8 หน่วยกิต จาก 3 กระบวนวิชา ดังต่อไปนี้
- กระบวนวิชา 452744 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติระดับบัณฑิตศึกษา 1 (3 หน่วยกิต)
- กระบวนวิชา 452745 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติระดับบัณฑิตศึกษา 2 (3 หน่วยกิต)
- กระบวนวิชา 452779 หัวข้อเลือกสรรทางเภสัชศาสตร์ (2 หน่วยกิต)
โดย 3 กระบวนวิชานี้บรรจุอยู่ในหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ซึ่งจัดอยู่ในกระบวนวิชาเลือกในสาขาวิชา รายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3) ดังเอกสารแนบท้าย
รายละเอียดการฝึกอบรม
1) ภาคทฤษฎี การบรรยาย จำนวน 30 ชั่วโมง โดยมีการบรรยายครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้
หัวข้อที่ |
เนื้อหา/กระบวนการ |
รูปแบบการอบรม |
ระยะเวลา (ชั่วโมง) |
1 |
ระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรม
- ขั้นตอนการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาล
- ระบบการติดตามและส่งต่อการให้บริบาลทางเภสัชกรรม
- ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อการบันทึกกิจกรรมและ
ภาระงานในการบริบาลทางเภสัชกรรม
|
บรรยายเนื้อหา |
3 |
2 |
การประมาณค่าการทำงานของไต |
บรรยายเนื้อหา |
1 |
3 |
โรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อน |
บรรยายเนื้อหา |
2 |
4 |
การพิจารณาขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง |
บรรยายเนื้อหา |
1 |
5 |
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (CKD slow progression, management of CKD complications) |
บรรยายเนื้อหา |
1.5 |
6 |
เภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีความผิดปกติของสมดุลน้ำ เกลือแร่ และกรด-ด่างในเลือด |
บรรยายเนื้อหา |
1.5 |
7 |
หลักการทั่วไปของการบำบัดทดแทนไต |
บรรยายเนื้อหา |
1 |
8 |
การฟอกเลือดทางหลอดเลือดดำ (HD / CRRT) |
บรรยายเนื้อหา |
1 |
9 |
หลักการทางเภสัชจลนศาสตร์และการพิจารณาขนาดยาสำหรับผู้ป่วย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต |
บรรยายเนื้อหา |
1.5 |
10 |
การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดทาง หลอดเลือดดำ (Chronic hemodialysis) |
บรรยายเนื้อหา |
1.5 |
11 |
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดทาง หลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง (CRRT) |
บรรยายเนื้อหา |
2 |
12 |
การล้างไตทางช่องท้อง |
บรรยายเนื้อหา |
1 |
13 |
การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง |
บรรยายเนื้อหา |
2 |
14 |
การใช้ยากดภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคโกลเมอรูลัส และผู้ป่วย ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต |
บรรยายเนื้อหา |
2 |
15 |
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต (Very-early phase management) |
บรรยายเนื้อหา |
3 |
16 |
การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต (Long-term management) |
บรรยายเนื้อหา |
3 |
17 |
การประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง |
บรรยายเนื้อหา |
2 |
|
|
รวม |
30 |
2) ภาคปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติงาน จำนวน 420 ชั่วโมง เป็นการให้บริบาลผู้ป่วยจริงควบคู่ไปกับการเรียนภาคทฤษฎี รายละเอียดของกิจกรรมประจำวันมี ดังนี้
เวลา |
กิจกรรม |
08.00 - 12.00 น. |
กิจกรรมการให้บริบาลทางเภสัชกรรม ดังนี้
- รวบรวม/ทบทวนข้อมูลผู้ป่วย
- จัดทำการประสานรายการยา
- ให้คำแนะนำปรึกษาการใช้ยาแก่ผู้ป่วย
- บริการข้อมูลทางยาแก่ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์
- ประเมินและจัดทำเอกสารสำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา
|
13.00 - 16.00 น. |
อภิปรายกรณีศึกษากับอาจารย์ประจำแหล่งฝึกร่วมกับดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนด ได้แก่
- การเรียนการสอนภาคทฤษฎี
- นำเสนอกรณีศึกษาจำนวน 2 ครั้ง (สัปดาห์ที่ 8 และ 12)
- นำเสนอการวิพากษ์วรรณกรรมปฐมภูมิ จำนวน 1 ครั้ง (สัปดาห์ที่ 4)
- ให้นำเสนอหัวข้อวิชาการ จำนวน 1 ครั้ง (สัปดาห์ที่ 6)
|
กำหนดสถานที่ในการฝึกปฏิบัติงาน ดังนี้
วัน |
สถานที่ |
กลุ่มผู้ป่วย |
จันทร์ |
คลินิกผู้ป่วยนอก หมายเลข 26 ชั้น 10 อาคารศรีพัฒน์ |
Kidney transplantation |
อังคาร |
ห้องไตเทียม ชั้น 10 อาคารศรีพัฒน์ |
Hemodialysis |
พุธ |
คลินิกผู้ป่วยนอก หมายเลข 26 ชั้น 10 อาคารศรีพัฒน์ |
CKD (non-dialysis) |
พฤหัสบดี |
หอผู้ป่วยศัลยกรรมพิเศษ 7 |
Kidney transplantation |
ศุกร์ |
คลินิกผู้ป่วยนอก หมายเลข 26 ชั้น 10 อาคารศรีพัฒน์ |
Peritoneal dialysis |
ตารางการฝึกปฏิบัติงานในแต่ละสัปดาห์
ผู้เข้ารับการอบรมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 สาย (A และ B) สายละ 2 ท่าน โดยจะฝึกปฏิบัติงาน ดังนี้
สัปดาห์ที่ |
สาย |
กลุ่มผู้ป่วยที่รับผิดชอบเป็นหลัก |
1-4 |
A , B |
รับผิดชอบทุกงานร่วมกัน |
|
* ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 4 มีการประเมินความรู้ |
|
5-8 |
A |
Hemodialysis/Peritoneal dialysis + CKD |
|
B |
Kidney transplant + CKD |
|
* ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 8 มีการประเมินทักษะ |
|
9-12 |
A |
Kidney transplant + CKD |
|
B |
Hemodialysis/Peritoneal dialysis + CKD |
|
* ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 12 มีการประเมินทักษะ |
|
13-16 |
A , B |
เขียนโครงการปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วย |
ในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้าย ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเขียนโครงร่างงานบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อนำ เสนอก่อนการดำเนินโครงการจริง ณ หน่วยงานต้นสังกัด
หลักสูตรนี้มีระยะเวลาการฝึกอบรม 16 สัปดาห์ จำนวนชั่วโมงการอบรมรวม 450 ชั่วโมง ประกอบด้วยการสอนภาคทฤษฎีโดยการบรรยาย จำนวน 30 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาล จำนวน 420 ชั่วโมงโดยเนื้อหาการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติของหลักสูตรนี้สามารถเทียบได้กับ
- หน่วยกิตของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย จำนวน 16 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็น ภาคทฤษฎี 2 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 15 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ 14 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 30 ชั่วโมง)
- หน่วยกิตต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ (Continuing Pharmacy Education, CPE) ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม ได้จำนวน 30 หน่วยกิต ในส่วนของภาคทฤษฎีโดยการบรรยาย 30 ชั่วโมง