การบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคไต (ปี 2568) รุ่นที่ 2


หลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคไต เป็นหลักสูตรภาคปฏิบัติ มีระยะเวลาการอบรมรวมทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน โดยผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต

1. ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลด

  • ใบสมัครเพื่อแสดงความจำนงเข้าร่วมรับการอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม ได้ที่ https://cmu.to/YMrcU
  • หนังสือเชิญอบรมเพื่อเป็นเอกสารแนบสำหรับต้นสังกัด ได้ที่ https://cmu.to/3mn82

2. รายชื่อผู้สมัครหลักสูตรระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคไต (ปี 2568) ได้ที่ https://cmu.to/mWIkm

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 1 ต.ค. 67 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 1 ก.ย. 68 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 1 ก.ย. 68 เวลา 17:00 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 ก.พ. 68 เวลา 08:00 น. ถึง 31 พ.ค. 68 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 1

1 มิ.ย. 68 เวลา 08:00 น. ถึง 30 ก.ย. 68 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 2

1 ต.ค. 68 เวลา 08:00 น. ถึง 31 ม.ค. 69 เวลา 16:00 น.
On-Site Training
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลต้นสังกัด ขึ้นกับรูปแบบการอบรมที่ผู้เรียนเลือก
รอบการอบรมที่ 3
จำนวนรับสมัคร
12 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 2 คน/รอบการอบรม)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร
  1. เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
  2. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี
  3. เป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา 2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
  4. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของโรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม
  5. ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรม
  6. เป็นผู้ที่กำลังปฏิบัติงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเภสัชบำบัดอยู่
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
30,600 บาท
(ยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท สำหรับนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 30,000 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร
  1. เป็นเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
  2. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี
  3. เป็นผู้ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและไม่เคยถูกลงโทษในคดีทางจรรยาบรรณในระยะเวลา 2 ปีก่อนจะสมัครเข้ารับการอบรม
  4. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมของโรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม
  5. ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรม
  6. เป็นผู้ที่กำลังปฏิบัติงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเภสัชบำบัดอยู่
หลักการและเหตุผล

เภสัชกรเป็นบุคลากรทางการแพทย์ในทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้ยา การปฏิบัติงานของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพทำให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้ยา และเนื่องจากองค์ความรู้และทักษะด้านบริบาลทางเภสัชกรรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เภสัชกรจะต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศไทยอย่างเหมาะสม หลักสูตรนี้จะเตรียมความพร้อมเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต การบริบาลทางเภสัชกรรมเชิงลึกโดยใช้พื้นฐานความรู้ด้านเภสัชบำบัดบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ มีทักษะในการประยุกต์ความรู้ด้านเภสัชบำบัดในการวางแผน แก้ไข ติดตาม และป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมทุกด้าน รวมทั้งข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพ อาการไม่พึงประสงค์ ความสะดวกของผู้ป่วยในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามสั่งได้โดยง่าย เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรม ทำให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ยังส่งเสริม สนับสนุนในการให้ข้อมูล และการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและสหสาขาวิชาชีพ

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อที่จะสามารถนำไปปฏิบัติตลอดจนริเริ่มการให้บริการวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยได้จริงเมื่อสำเร็จหลักสูตรการอบรม เน้นการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based practice) ในการดูแลผู้ป่วยด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วย จึงได้ร่วมมือจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเภสัชกรรม (สาขาโรคไตและการบำบัดทดแทนไต) Certificate in Pharmacy (Nephrology and Renal Replacement Therapy) หลักสูตรภาคปฏิบัติ 16 สัปดาห์ โดยมีเนื้อหาทางทฤษฎีสอดแทรกตลอดระยะของการฝึกปฏิบัติงาน ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยความอนุเคราะห์ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้กำหนดให้เภสัชกรฝึกปฏิบัติงาน ณ ห้องไตเทียม คลินิกผู้ป่วย และหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เภสัชกรที่เข้ารับการฝึกจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในการบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย โดยหลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคไต เป็นหลักสูตรเพื่อการรับรองสมรรถนะและเพื่อการเก็บสะสมหน่วยกิต มีระยะเวลาการเรียนรู้รวมจำนวน 450 ชั่วโมง ประกอบด้วยการสอนภาคทฤษฎีโดยการบรรยายจำนวน 30 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาลจำนวน 420 ชั่วโมง

ผู้เรียนสามารถเก็บสะสมหน่วยกิตได้ 8 หน่วยกิต จาก 3 กระบวนวิชา ดังต่อไปนี้

  1. กระบวนวิชา 452744 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติระดับบัณฑิตศึกษา 1 (3 หน่วยกิต)
  2. กระบวนวิชา 452745 เภสัชกรรมคลินิกภาคปฏิบัติระดับบัณฑิตศึกษา 2 (3 หน่วยกิต)
  3. กระบวนวิชา 452779 หัวข้อเลือกสรรทางเภสัชศาสตร์ (2 หน่วยกิต)

โดย 3 กระบวนวิชานี้บรรจุอยู่ในหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก ซึ่งจัดอยู่ในกระบวนวิชาเลือกในสาขาวิชา รายละเอียดของรายวิชา (มคอ. 3) ดังเอกสารแนบท้าย

รายละเอียดการฝึกอบรม
1) ภาคทฤษฎี การบรรยาย จำนวน 30 ชั่วโมง โดยมีการบรรยายครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้

หัวข้อที่ เนื้อหา/กระบวนการ รูปแบบการอบรม ระยะเวลา (ชั่วโมง)
1 ระบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรม
  • ขั้นตอนการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาล
  • ระบบการติดตามและส่งต่อการให้บริบาลทางเภสัชกรรม
  • ระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลเพื่อการบันทึกกิจกรรมและ
    ภาระงานในการบริบาลทางเภสัชกรรม
บรรยายเนื้อหา 3
2 การประมาณค่าการทำงานของไต บรรยายเนื้อหา 1
3 โรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อน บรรยายเนื้อหา 2
4 การพิจารณาขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง บรรยายเนื้อหา 1
5 การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (CKD slow
progression, management of CKD complications)
บรรยายเนื้อหา 1.5
6 เภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีความผิดปกติของสมดุลน้ำ
เกลือแร่ และกรด-ด่างในเลือด
บรรยายเนื้อหา 1.5
7 หลักการทั่วไปของการบำบัดทดแทนไต บรรยายเนื้อหา 1
8 การฟอกเลือดทางหลอดเลือดดำ (HD / CRRT) บรรยายเนื้อหา 1
9 หลักการทางเภสัชจลนศาสตร์และการพิจารณาขนาดยาสำหรับผู้ป่วย
ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
บรรยายเนื้อหา 1.5
10 การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดทาง
หลอดเลือดดำ (Chronic hemodialysis)
บรรยายเนื้อหา 1.5
11 การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดทาง
หลอดเลือดดำอย่างต่อเนื่อง (CRRT)
บรรยายเนื้อหา 2
12 การล้างไตทางช่องท้อง บรรยายเนื้อหา 1
13 การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง บรรยายเนื้อหา 2
14 การใช้ยากดภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคโกลเมอรูลัส และผู้ป่วย
ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต
บรรยายเนื้อหา 2
15 การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต
(Very-early phase management)
บรรยายเนื้อหา 3
16 การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต
(Long-term management)
บรรยายเนื้อหา 3
17 การประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง บรรยายเนื้อหา 2
    รวม 30

2) ภาคปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติงาน จำนวน 420 ชั่วโมง เป็นการให้บริบาลผู้ป่วยจริงควบคู่ไปกับการเรียนภาคทฤษฎี รายละเอียดของกิจกรรมประจำวันมี ดังนี้

เวลา กิจกรรม
08.00 - 12.00 น. กิจกรรมการให้บริบาลทางเภสัชกรรม ดังนี้
  • รวบรวม/ทบทวนข้อมูลผู้ป่วย
  • จัดทำการประสานรายการยา
  • ให้คำแนะนำปรึกษาการใช้ยาแก่ผู้ป่วย
  • บริการข้อมูลทางยาแก่ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์
  • ประเมินและจัดทำเอกสารสำหรับผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา
13.00 - 16.00 น. อภิปรายกรณีศึกษากับอาจารย์ประจำแหล่งฝึกร่วมกับดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนด ได้แก่
  • การเรียนการสอนภาคทฤษฎี
  • นำเสนอกรณีศึกษาจำนวน 2 ครั้ง (สัปดาห์ที่ 8 และ 12)
  • นำเสนอการวิพากษ์วรรณกรรมปฐมภูมิ จำนวน 1 ครั้ง (สัปดาห์ที่ 4)
  • ให้นำเสนอหัวข้อวิชาการ จำนวน 1 ครั้ง (สัปดาห์ที่ 6)

กำหนดสถานที่ในการฝึกปฏิบัติงาน ดังนี้

วัน สถานที่ กลุ่มผู้ป่วย
จันทร์ คลินิกผู้ป่วยนอก หมายเลข 26 ชั้น 10 อาคารศรีพัฒน์ Kidney transplantation
อังคาร ห้องไตเทียม ชั้น 10 อาคารศรีพัฒน์ Hemodialysis
พุธ คลินิกผู้ป่วยนอก หมายเลข 26 ชั้น 10 อาคารศรีพัฒน์ CKD (non-dialysis)
พฤหัสบดี หอผู้ป่วยศัลยกรรมพิเศษ 7 Kidney transplantation
ศุกร์ คลินิกผู้ป่วยนอก หมายเลข 26 ชั้น 10 อาคารศรีพัฒน์ Peritoneal dialysis

ตารางการฝึกปฏิบัติงานในแต่ละสัปดาห์

ผู้เข้ารับการอบรมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 สาย (A และ B) สายละ 2 ท่าน โดยจะฝึกปฏิบัติงาน ดังนี้

สัปดาห์ที่ สาย กลุ่มผู้ป่วยที่รับผิดชอบเป็นหลัก
1-4 A , B รับผิดชอบทุกงานร่วมกัน
  * ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 4 มีการประเมินความรู้  
5-8 A Hemodialysis/Peritoneal dialysis + CKD
  B Kidney transplant + CKD
  * ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 8 มีการประเมินทักษะ  
9-12 A Kidney transplant + CKD
  B Hemodialysis/Peritoneal dialysis + CKD
  * ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 12 มีการประเมินทักษะ  
13-16 A , B เขียนโครงการปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วย

ในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้าย ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเขียนโครงร่างงานบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อนำ เสนอก่อนการดำเนินโครงการจริง ณ หน่วยงานต้นสังกัด

หลักสูตรนี้มีระยะเวลาการฝึกอบรม 16 สัปดาห์ จำนวนชั่วโมงการอบรมรวม 450 ชั่วโมง ประกอบด้วยการสอนภาคทฤษฎีโดยการบรรยาย จำนวน 30 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาล จำนวน 420 ชั่วโมงโดยเนื้อหาการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติของหลักสูตรนี้สามารถเทียบได้กับ

  1. หน่วยกิตของวิทยาลัยเภสัชบำบัดแห่งประเทศไทย จำนวน 16 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็น ภาคทฤษฎี 2 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 15 ชั่วโมง) และภาคปฏิบัติ 14 หน่วยกิต (หน่วยกิตละ 30 ชั่วโมง)
  2. หน่วยกิตต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ (Continuing Pharmacy Education, CPE) ของศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม ได้จำนวน 30 หน่วยกิต ในส่วนของภาคทฤษฎีโดยการบรรยาย 30 ชั่วโมง

การบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาโรคไต (ปี 2568) รุ่นที่ 2

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.ภก. วันชนะ สิงห์หัน
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะเภสัชศาสตร์
ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นายชลธาร อูปอินทร์ (เจ้าหน้าที่ภาควิชาบริบาลเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์)
chonlathan.a@cmu.ac.th
053-941515
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่

* กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนลงทะเบียนหลักสูตร
แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 13 ธ.ค. 2567 - 14 ก.พ. 2568
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 2,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 28 ก.ย. 2567 - 15 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 5 ธ.ค. 2567 - 28 ก.พ. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 5 ธ.ค. 2567 - 28 ก.พ. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,100 บาท


เรียนออนไลน์