การประยุกต์หลักการทางประสาทพฤติกรรมสำหรับการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช


หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติงานของนักกิจกรรมบำบัดในด้านการประยุกต์ใช้หลักการทางประสาทพฤติกรรมสำหรับใช้ในการประเมินและบำบัดฟื้นฟูผู้มารับบริการที่มีปัญหา สุขภาพจิต ซึ่งเนื้อหาในหลักสูตร ประกอบด้วย ความหมายและองค์ประกอบของภาวะสุขภาพด้านการทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วม ขอบเขตและกระบวนการตามกรอบการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด หลักการทางประสาทพฤติกรรมที่มีผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต การเชื่อมโยงหลักการทางประสาทพฤติกรรมกับภาวะสุขภาพด้านการทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วม การเชื่อมโยงหลักการทางประสาทพฤติกรรมกับกรอบการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด รวมไปถึงการเชื่อมโยงกรอบการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด และการใช้บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงาน ความพิการ และสุขภาพกับกรณีศึกษาผู้ป่วยจิตเวชที่บกพร่องทางประสาทพฤติกรรม  

กิจกรรมเพิ่มเติม

  • ขอความร่วมมือผู้เรียนศึกษาคลิปวิสัยทัศน์คณะเทคนิคการแพทย์ ผ่านลิงก์นี้ https://youtu.be/R2QPRnT76YI?si=HvDezoUQPN4-hEva
  • ขอความร่วมมือผู้เรียนทำแบบสำรวจความต้องการ/ความคาดหวังของผู้เรียนสำหรับการสร้างหลักสูตรใหม่ ผ่านลิงก์นี้ https://forms.gle/nMRT5oQyV7Vx97t1

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 8 ต.ค. 67 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 30 ต.ค. 67 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 30 ต.ค. 67 เวลา 18:00 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 พ.ย. 67 เวลา 08:00 น. ถึง 30 พ.ย. 67 เวลา 18:00 น.
Online learning
ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองผ่าน e-learning บนแพลตฟอร์ม MANGO Canvas รายละเอียดหัวข้อการอบรมสามารถดูได้จากเอกสารหลักสูตร
จำนวนรับสมัคร
30 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 1 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร

-

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
2,100 บาท
(ค่าธรรมเนียมการอบรม 1,500 บาท และค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 1,500 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร

สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขากิจกรรมบำบัด

หลักการและเหตุผล

กิจกรรมบำบัดจัดเป็นหนึ่งในกลุ่มสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ที่มีการนำเอากิจกรรมการดำเนินชีวิตมา ใช้ในการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการที่มีปัญหาต่าง ๆ อาทิเช่น ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช โดยบทบาท หน้าที่ของนักกิจกรรมบำบัดจะทำการประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจกรรมของบุคคล รวมไปจนถึงใช้กิจกรรมเป็นสื่อหรือเครื่องมือในการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วย เหล่านั้นยังคงความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงหรือเป็นปกติมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า หนึ่งในสาเหตุของความบกพร่องในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตมักมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยจิตเวช ที่มักประสบปัญหา ด้านพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจนนำมาซึ่งข้อจำกัดหรือความสามารถที่ลดลงในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามมา อาทิเช่น ปัญหาการละเลยการดูแลสุขอนามัยตนเองในผู้ป่วยซึมเศร้า หรือปัญหาการนอนหลับไม่ เพียงพอในผู้ป่วยเสพสารเสพติด เป็นต้น

ปัจจุบันหนึ่งในแนวทางการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช มักอาศัยหลักการและทฤษฎีทางประสาทพฤติกรรมมาช่วยอธิบายกลไกลการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปของสมอง และระบบประสาท จนส่งผลต่อพฤติกรรมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของบุคคล ซึ่งใน ปัจจุบัน โรคทางประสาทพฤติกรรม (Neurobehavioral disorders) จัดเป็นหนึ่งในความผิดปกติทางระบบ ประสาทที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคติดสารเสพติด โรคจิตเภท โรคสมองเสื่อม เป็นต้น โดยในหลักสูตรนี้จะได้อธิบายแนวทางเชื่อมโยงหลักการและทฤษฎีทางประสาทพฤติกรรมกับการตรวจ ประเมินและบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช รวมไปถึงจะช่วยอธิบายให้นักกิจกรรมบำบัดเข้าใจ สาเหตุและกลไกการทำงานของระบบประสาทที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและความสามารถในการทำกิจกรรมที่ เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วยจิตเวชร่วมด้วย ทั้งนี้ทางผู้จัดทำหลักสูตรคาดหวังว่า ความรู้ที่ได้จากการอบรมนี้จะ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทางประสาทพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต รวมไปถึงช่วยให้ ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงหลักการทางประสาทพฤติกรรมกับแนวทางการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วย จิตเวชประเภทต่าง ๆ ได้

สำหรับเนื้อหาในหลักสูตรนี้จะประกอบด้วย ความหมายและองค์ประกอบของภาวะสุขภาพด้านการ ทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วม ขอบเขตและกระบวนการตามกรอบการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด หลักการ ทางประสาทพฤติกรรมที่มีผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต การเชื่อมโยงหลักการทางประสาทพฤติกรรม กับภาวะสุขภาพด้านการทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วม การเชื่อมโยงหลักการทางประสาทพฤติกรรมกับกรอบ การปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด รวมไปถึงการเชื่อมโยงกรอบการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด และการใช้ บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงาน ความพิการ และสุขภาพ กับกรณีศึกษาผู้ป่วยจิตเวชที่บกพร่องทาง ประสาทพฤติกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ทางคณะผู้สอนในหลักสูตร คาดหวังว่าความรู้จากการอบรมนี้จะช่วยเพิ่ม ความสามารถในการปฏิบัติงานของนักกิจกรรมบำบัดในด้านการประยุกต์ใช้หลักการและทฤษฎีทางประสาท พฤติกรรมสำหรับการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยจิตเวชและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตต่อไป

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มีจำนวนชั่วโมงการอบรมรวม 15 ชั่วโมง โดยผู้สอนจะบรรยายเนื้อหาการอบรมผ่านคลิปวิดีโอที่บันทึกไว้ล่วงหน้า ในระบบ MANGO Canvas ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาคลิปวิดีโอการสอนได้ด้วยตนเองตาม ระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด โดยมีหัวข้อการอบรม ดังนี้

หัวข้อที่ หัวข้อหลักสูตรอบรม

รูปแบบการอบรม

จำนวนชั่วโมง

1

ความหมายและองค์ประกอบของภาวะสุขภาพ ด้านการทำกิจกรรม

และการมีส่วนร่วมตาม บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงานความพิการ

และสุขภาพ สำหรับผู้รับบริการทาง สุขภาพจิตและจิตเวช

บรรยายผ่านคลิปวิดีโอ 1
2

ขอบเขตและกระบวนการตามกรอบการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด

สำหรับผู้รับบริการทางสุขภาพจิตและจิตเวช

บรรยายผ่านคลิปวิดีโอ 4
3 หลักการและทฤษฎีทางประสาทพฤติกรรม บรรยายผ่านคลิปวิดีโอ 1
4 ผลกระทบของโรคทางประสาทจิตเวชต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต บรรยายผ่านคลิปวิดีโอ 1
5

การเชื่อมโยงหลักการทางประสาทพฤติกรรมกับภาวะสุขภาพ

ด้านการทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วม

บรรยายผ่านคลิปวิดีโอ 1
6 การเชื่อมโยงหลักการทางประสาทพฤติกรรมกับกรอบการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด บรรยายผ่านคลิปวิดีโอ 1
7

การเชื่อมโยงกรอบการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด และการใช้บัญชีสากล

เพื่อการจำแนกการทำงาน ความพิการ และสุขภาพ กับผู้ป่วยจิตเวชที่บกพร่อง

ทางประสาทพฤติกรรม :

กรณีศึกษาที่ 1 : โรคจิตเภท

รายละเอียดเนื้อหา

1.       ความรู้เรื่องโรคจิตเภท

1.1   เกณฑ์การวินิจฉัยโรค

1.2   ประสาทพฤติกรรมกับโรคจิตเภท    

1.3   ผลกระทบต่อทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการมีส่วนร่วม

2.       การประเมินผู้รับบริการที่เป็นโรคจิตเภท

2.1   ข้อมูลทั่วไปของกรณีศึกษา

2.2   การประเมิน 

2.3   สรุปปัญหา

2.4   กำหนดเป้าประสงค์การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการมีส่วนร่วม 

2.5   กำหนดเป้าประสงค์สนับสนุนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการมีส่วนร่วม

 

3.       การบำบัดในผู้รับบริการ

3.1   แผนการบำบัดฟื้นฟู

3.2   วิธีการประเมินผลการบำบัดฟื้นฟู 

บรรยายผ่านคลิปวิดีโอ 2
8

การเชื่อมโยงกรอบการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด และการใช้บัญชีสากล

เพื่อการจำแนกการทำงาน ความพิการ และสุขภาพ กับผู้ป่วยจิตเวชที่บกพร่อง

ทางประสาทพฤติกรรม :

กรณีศึกษาที่ 2 : โรคซึมเศร้า

รายละเอียดเนื้อหา 

1.       ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า

1.1   เกณฑ์การวินิจฉัยโรค

1.2   ประสาทพฤติกรรมกับโรคซึมเศร้า

1.3   ผลกระทบต่อทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการมีส่วนร่วม

2.       การประเมินผู้รับบริการที่เป็นโรคซึมเศร้า

2.1   ข้อมูลทั่วไปของกรณีศึกษา

2.2   การประเมิน 

2.3   สรุปปัญหา

2.4   กำหนดเป้าประสงค์การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการมีส่วนร่วม 

2.5   กำหนดเป้าประสงค์สนับสนุนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและ

การมีส่วนร่วม 

3.       การบำบัดในผู้รับบริการ

3.1   แผนการบำบัดฟื้นฟู

3.2   วิธีการประเมินผลการบำบัดฟื้นฟู

บรรยายผ่านคลิปวิดีโอ 2
9

การเชื่อมโยงกรอบการปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัด และการใช้บัญชีสากล

เพื่อการจำแนกการทำงาน ความพิการ และสุขภาพ กับผู้ป่วยจิตเวชที่บกพร่อง

ทางประสาทพฤติกรรม :

กรณีศึกษาที่ 3 : โรคความผิดปกติทางสุขภาพจิต และพฤติกรรมจากการใช้แอลกอฮอล์

รายละเอียดเนื้อหา 

1.       ความรู้เรื่องโรคความผิดปกติทางสุขภาพจิต และพฤติกรรมจากการใช้

แอลกอฮอล์

1.1   เกณฑ์การวินิจฉัยโรค

1.2   ประสาทพฤติกรรมกับโรคความผิดปกติทางสุขภาพจิตและพฤติกรรม

จากการใช้ แอลกอฮอล์

1.3   ผลกระทบต่อทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการมีส่วนร่วม

2.       การประเมินผู้รับบริการที่เป็นโรคความผิดปกติทางสุขภาพจิตและ

พฤติกรรมจากการ ใช้แอลกอฮอล์

2.1   ข้อมูลทั่วไปของกรณีศึกษา

2.2   การประเมิน 

2.3   สรุปปัญหา

2.4   กำหนดเป้าประสงค์การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการมีส่วนร่วม 

2.5   กำหนดเป้าประสงค์สนับสนุนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและการมีส่วนร่วม 

3.       การบำบัดในผู้รับบริการ

3.1   แผนการบำบัดฟื้นฟู

3.2   วิธีการประเมินผลการบำบัดฟื้นฟู

บรรยายผ่านคลิปวิดีโอ 2
 

 

รวม 15 ชั่วโมง

การประยุกต์หลักการทางประสาทพฤติกรรมสำหรับการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.ดร. สาวิตรี ชารุนันทกร
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะเทคนิคการแพทย์
ภาควิชากิจกรรมบําบัด
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นางสาวสาวิตรี ศรีรินทร์
sawitree.sri@cmu.ac.th
053-949201
...
การเรียนรูปแบบ Online
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ผ่าน Online Platform

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 15 พ.ย. 2567 - 6 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,600 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 9 ต.ค. 2567 - 2 ธ.ค. 2567
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 4,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 28 ก.ย. 2567 - 15 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 21 ต.ค. 2567 - 8 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ไม่มีค่าใช้จ่าย


เรียนออนไลน์