ประสาทวิทยาคลินิกทางสัตวแพทย์ (Veterinary Clinical Neurology) รุ่น 3 ปี 2567


หลักสูตรทางด้านประสาทวิทยาคลินิกทางสัตวแพทย์ (Veterinary Clinical Neurology) เป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short Course) ที่ออกแบบมาเพื่อเสริมทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพสัตวแพทย์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตรรกะเพื่อจัดการ และรักษาอาการทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยทางคลินิก เช่น การสูญเสียการมองเห็น (blindness) ภาวะอัมพฤกษ์ (paresis) และอัมพาต (paralysis) การสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย (Ataxia) ภาวะอ่อนแรงเป็นระยะ และการทรุดตัวลงหรือล้มลงหมดสติ (intermittent weakness and collapse) ภาวะกรามแน่น (tight jaw) กรามหย่อนลงกว่าปกติ (dropped jaw) ใบหน้าหย่อนคล้อย (droopy faces) อาการชัก (seizures) อาการสั่น (tremors) และ การกำเริบของภาวะหดเกร็ง ชัก แบบฉับพลัน (paroxysmal events) ได้อย่างมั่นใจ 

** หลักสูตรนี้รับจำนวนจำกัด 15 ท่าน หากมีผู้ชำระเงินครบจำนวนแล้ว ระบบจะปิดการรับสมัคร ** 

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 30 ต.ค. 67 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 14 พ.ย. 67 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 14 พ.ย. 67 เวลา 23:59 น.
ช่วงเวลาเรียน
16 พ.ย. 67 เวลา 08:30 น. ถึง 31 มี.ค. 68 เวลา 23:59 น.
Online learning
ผู้เรียนสามารถจัดสรรเวลาเรียนและทำแบบทดสอบในแต่ละหัวข้อให้แล้วเสร็จได้เอง
จำนวนรับสมัคร
15 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 5 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร

มีความรู้พื้นฐานทางด้านประสาทกายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
18,600 บาท
(ค่าธรรมเนียมการอบรม 18,000 บาท และค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 18,000 บาท)
ส่วนลด
ค่าส่วนลด EarlyBird : 4,500 บาท
ภายในวันที่ 30 ต.ค. 2567 เวลา 08:30 น. ถึง 8 พ.ย. 2567 เวลา 23:59 น.
  • บุคลากร มช. คณะสัตวแพทยศาสตร์ ยอดชำระ 9,999 บาท
  • ศิษย์เก่า ยอดชำระ 9,999 บาท
  • นักศึกษา ยอดชำระ 13,500 บาท
  • บุคคลทั่วไป ยอดชำระ 14,100 บาท
เงื่อนไขการรับสมัคร
  1. เป็นสัตวแพทย์ (มีเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ)
  2. มีความรู้พื้นฐานทางด้านประสาทกายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์
หลักการและเหตุผล

หลักสูตรทางด้านประสาทวิทยาคลินิกทางสัตวแพทย์ เป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short Course)
ที่ออกแบบมาเพื่อเสริมทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพสัตวแพทย์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตรรกะเพื่อจัดการ และรักษาอาการทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยทางคลินิกได้อย่างมั่นใจ หลักสูตรนี้มีรูปแบบการศึกษาด้วยตนเองผ่านสื่อการเรียนรู้ เช่น เอกสารประกอบ กรณีศึกษาสัตว์ป่วย คลิปวีดีโอสรุปเนื้อหาภายในช่วงเวลาที่กำหนด การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อประเมินระดับความรู้ก่อนเรียน และหลังจากเรียนจบแล้ว ประเมินความรู้ด้วยแบบทดสอบหลังเรียนโดยแพลตฟอร์มออนไลน์ (Online platform: Chiangmai University MANGO Canvas)

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มีจำนวนชั่วโมงการอบรมรวม 22 ชั่วโมง 30 นาที โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 หัวข้อหลัก และ 3 หัวข้อพิเศษ ดังนี้

หัวข้อที่ หัวข้อ รูปแบบการอบรม ระยะเวลา
1

หัวข้อหลัก 1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประสาทวิทยาคลินิก

·    องค์ประกอบสำคัญทางประสาทกายวิภาคศาสตร์และประสาทสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้อง
กับประสาทวิทยาคลินิก

·    การตรวจระบบประสาทอย่างละเอียด และเข้าใจถึงความผิดปกติที่ตรวจพบ

·    การระบุผลการตรวจทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับรอยโรคในบริเวณต่าง ๆ
ของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนปลาย

·    การทำรายการวินิจฉัยแยกโรค

บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง 30 นาที
2

หัวข้อหลัก 2

การสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย (ataxia), อาการขากะเผลก (lameness) และ
ภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาข้างเดียว (monoparesis)

·    จำแนกการสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย (ataxia) ประเภทต่าง ๆ และ
พื้นฐานทางกายวิภาคศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

·    กำหนดรายการการวินิจฉัยแยกโรค และแผนการวินิจฉัยตามประเภทของการสูญเสียการควบคุม
การเคลื่อนไหวร่างกาย (ataxia)

·    จำแนกความแตกต่างของอาการขากะเผลก (lameness) ที่เกิดจากสาเหตุกระดูกและข้อ
กับสาเหตุทางระบบประสาท

·    แนวทางที่ชาญฉลาดเพื่อจัดการภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาข้างเดียว (monoparesis)

·    สาเหตุทางระบบประสาทของภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาข้างเดียว (monoparesis)
ที่พบได้บ่อย

·    ทำความคุ้นเคยกับการทดสอบเพื่อการวินิจฉัยโรคทางระบบประสาท(neurodiagnostic test)
ที่นิยมใช้กันทั่วไป

บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง 30 นาที
3

หัวข้อหลัก 3

ประสาท-จักษุวิทยา (Neuro-ophthalmology) และความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง

·    การจำแนกภาวะรูม่านตาขนาดไม่เท่ากัน (anisocoria)

·    การพัฒนาตรรกะ และแนวทางที่ชาญฉลาดเพื่อจัดการภาวะสูญเสียการมองเห็น (blindness)

·    การแก้ปัญหา อาการ และภาวะที่พบได้บ่อย เช่น กรามหย่อนลงกว่าปกติ (dropped jaw),
กรามติด (trismus), อัมพาตใบหน้า (facial paralysis) และการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
(masticatory muscle atrophy)

บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง 30 นาที
4

หัวข้อหลัก 4

โรคในกะโหลกศีรษะ (Intracranial disease)

·    จำแนกอาการที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับบริเวณต่าง ๆ ของสมอง

·    การวินิจฉัย และการจัดการโรคในกะโหลกศีรษะที่พบบ่อย

·    แนวทางที่ชาญฉลาดเพื่อจัดการสัตว์ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคกระดูกสันหลัง

·    วิธีการวินิจฉัยแยกโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง

·    การวินิจฉัย และการจัดการสภาวะต่าง ๆ เช่น ชิ้นส่วนของกระดูกอ่อนจากดิสก์ขัดขวาง
การไหลเวียนของเลือดไปยังไขสันหลัง (fibrocartilaginous embolism), โรคไขสันหลังเสื่อม
(degenerative myelopathy), อักเสบของหมอนรองกระดูก (discospondylitis)
หรือการอักเสบของไขสันหลัง (myelitis)

บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง 30 นาที
5

หัวข้อหลัก 5

อาการชัก และความผิดปกติแบบฉับพลันอื่น ๆ

·    แยกความแตกต่างของอาการชักจากโรคลมชัก (epileptic seizures) จากเหตุการณ์หดเกร็ง
ชักแบบฉับพลันอื่น ๆ

·    วิธีการวินิจฉัยและการรักษาโรคลมบ้าหมู (epilepsy) อย่างมีเหตุมีผล

·    การจัดการโรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา (refractory epilepsy)

·    การพัฒนาแนวทางเพื่อจัดการอาการสั่น (tremors) อย่างมีตรรกะ

บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง 30 นาที
6

หัวข้อหลัก 6

อาการอ่อนแรงที่เกิดหลังจากการออกกำลังกาย(Exercise-induced weakness)
และอาการทรุดตัวลงหรือล้มลงหมดสติ (collapse)

·    แนวทางที่ชาญฉลาดเพื่อจัดการสัตว์มีอาการอ่อนแรงที่เกิดหลังจากการออกกำลังกาย
(Exercise-induced weakness) และอาการทรุดตัวลงหรือล้มลงหมดสติ (collapse)

·    ความผิดปกติทางประสาทกล้ามเนื้อที่พบบ่อย (Common neuromuscular conditions)

บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง 30 นาที
7

หัวข้อพิเศษ 7

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography, EEG)
ในสุนัขและแมว

·    ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของ EEG

·    การแปลผล EEG เบื้องต้นในประสาทวิทยาทางสัตวแพทย์

·    การนำไปประยุกต์ใช้ทางคลินิก และกรณีศึกษา

บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง 30 นาที
8

หัวข้อพิเศษ 8

การฝังเข็มเพื่อรักษาความผิดปกติทางระบบประสาทของสัตว์เล็ก (Acupuncture for Small
Animal Neurologic Disorders)

บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง 30 นาที
9

หัวข้อพิเศษ 9

การฟื้นฟูสภาพร่างกายจากความผิดปกติทางระบบประสาท (Rehabilitation of common
neurological conditions)

บรรยายเนื้อหา 2 ชั่วโมง 30 นาที
 

รวมจำนวนชั่วโมงการอบรม 9 หัวข้อ (6 หัวข้อหลัก และ 3 หัวข้อพิเศษ)

  22 ชั่วโมง 30 นาที

ประสาทวิทยาคลินิกทางสัตวแพทย์ (Veterinary Clinical Neurology) รุ่น 3 ปี 2567

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.น.สพ.ดร.วสันต์ ตั้งโภคานนท์
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะสัตวแพทยศาสตร์
สำนักวิชาสัตวแพทยศาสตร์
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
หน่วยบริการวิชาการและการศึกษาตลอดชีวิต
vetcm.serve@gmail.com
053-948071
...
ใบรับรองสมรรถนะ
ใบรับรองสมรรถนะ (Competency Certificate) คือใบประกาศนียบัตรการันตีความสามารถและสมรรถนะเฉพาะด้าน ที่ผู้เรียนจะได้รับหลังผ่านการประเมินจากหลักสูตรอบรมระยะสั้น
...
การเรียนรูปแบบ Online
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ผ่าน Online Platform

* กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนลงทะเบียนหลักสูตร
แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 30 ต.ค. 2567 - 14 พ.ย. 2567
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 18,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 10 ต.ค. 2567 - 14 พ.ย. 2567
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 5,100 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 9 ต.ค. 2567 - 2 ธ.ค. 2567
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 4,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 28 ก.ย. 2567 - 15 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ราคา 1,800 บาท


เรียนออนไลน์